เผย 8 เหตุเรียกคืนเครื่องราชฯ หลังใช้ระเบียบใหม่ ถูกเรียกคืนแล้ว 37 ราย

16/10/52

24 มี.ค. 2551

'มติชนออนไลน์' เปิดเผย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2548 ซึ่งแต่เดิมนั้น รัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายฉบับ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ทางสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 11 ( แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ โดยกำหนดเหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังต่อไปนี้

1.เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิต

2.เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3.เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น โดยคำสั่งอันถึงที่สุด

4.เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น โดยคำสั่งอันถึงที่สุด

5.เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยคำสั่งอันถึงที่สุด

6.เป็นผู้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เพราะมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

7.เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

8.เป็นผู้ประพฤติตนไม่สมเกียรติหรือนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปใช้ในกรณีไม่สมควร

ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการประกาศในเมื่ปี 2548 มีผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังต่อไปนี้

1.นางสาวกุลวดี ฟังเสนาะ อดีตผู้พิพากษา หัวหน้าคณะในศาลแห่งกรุงเทพใต้
2.นายเอกสิทธิ์ ชัยฤกษ์
3.นายกิตติพงษ์ ภาสวรกุล อดีตอัยการพิเศษประจำกรม สำนักงานอัยการสูงสุด
4.ร้อยเอก กมล สุทธิพันธุ์
5.นาวาโท กองเหรียญ ตอสกุล
6.ร้อยตำรวจเอก สมเกียรติ ภูษาชีวะ
7.นายเขมภณ กิรัตน์ ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 8
8.ร้อยโท วิสุทธิ์ สิงห์ป้อม สังกัดกองทัพบก
9.นายวีริยะ นามบุญ อดีตข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กระทรวง
ศึกษาธิการ
10.นาวาอากาศเอก สุรเดช ทวีทรัพย์ สังกัดกองทัพอากาศ
11.นาวาอากาศเอก ธงชัย แจ่มวิมล สังกัดกองทัพอากาศ
12.ร้อยเอก ไพศาล เรืองแสง สังกัดกองทัพบก
13.ร้อยเอก สุพล ทองอ่อน สังกัดกองทัพบก
14.พันตรี ชวรินทร์ ชาญค้า สังกัดกองทัพบก
15.พันตรี เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด
16.ร้อยเอก ณัฐชาติ แก้วควรชุม สังกัดกองทัพบก
17.พันตรี ชัยศิลป์ พันธ์พูล สังกัดกองทัพบก
18.เรือเอก ธัช จารุรัชฎานนท์ สังกัดกองทัพเรือ
19.นายนุกูล สร้อยระย้า ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่งกรุงเทพใต้
20.นายซานคามิลโล เพียรพบ และนายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง
21.นายสัญญพรหม์ โสตถิพันธุ์ อัยการจังหวัดประจํากรม สํานักงานอัยการจังหวัดยะลา
22.พันตรี เกรียงศักดิ์ อุบลแย้ม สังกัดกองทัพบก
23.ร้อยตรี ศักดิ์ชาย ศิรินาม สังกัดกองทัพบก
24.นายสรวีย์ สวัสดิเวช ข้าราชการในสังกัดสำนักราชเลขาธิการ
25.พันโท เอกกมล ถนอมสุข สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด
26.พันตรี นิรัตน์ อินทรประชา สังกัดกองทัพบก
27.พลอากาศเอก วัชระ พลนาวี หัวหน้าสํานักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการ ถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด
28.ร้อยตรี โสภา ศิลาลาย สังกัดกองทัพบก
29.นายมนตรี ปิ่นปิติ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
30.เรืออากาศเอก ถนอม ไข่สม สังกัดกองทัพอากาศ
31.พันโท ปริวรรต อุดมศักดิ์ ข้าราชการบำนาญสังกัดกองทัพบก
32.พันตรี สุชาติ ราชคม สังกัดกองทัพบก
33.เรืออากาศโท วรเทพ หลักทรัพย์ สังกัดกองทัพอากาศ
34.เรือโท ทวีสิทธิ์ รักคง สังกัดกองทัพเรือ
35.นายคงศิริ สันทนะประภา อัยการจังหวัดประจํากรม สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงาน 1 สํานักงานคดีแรงงาน
36.นายพยุงศักดิ์ สุขสุเมฆ ข้าราชการในสังกัดสำนักราชเลขาธิการ
37.นาวาอากาศโทหญิง จารุชา รัตนติสร้อย สังกัดกองทัพอากาศ



Read more ...

ก.ตร.มีมติไม่เปลี่ยนแปลง 152 ตำแหน่งที่อนุมัติไปแล้ว

16/10/52
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 สิงหาคม 2552

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ โดยมี

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา(สบ10) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผบ.ตร.และก.ตร.

ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประชุม โดยใช้เวลาในการประชุมกว่า 2 ชั่วโมง

พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า
วันนี้(7 สิงหาคม 2552)การประชุมก.ตร. มีเรื่องสำคัญๆที่พิจารณา 3 เรื่องด้วยกัน

เรื่องแรก เป็นการพิจารณาการดำเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก.ตร. มีมติยืนยันให้ ตร.เสนอนำส่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 15 สิงหาคม และให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปคือวันที่ 16 สิงหาคม ตามกำหนดเดิมที่ได้วางไว้

พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวต่อว่า

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องรายชื่อนายพล 152 ตำแหน่งที่ก.ตร.ได้อนุมัติแต่งตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น ก.ตร. ได้มีมติไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใดๆ ให้นำรายชื่อนำความกราบบังคมทูลโปรดเกล้าหลังจาก พรฎ.แบ่งส่วนราชการมีผลบังคับใช้แล้ว และในที่ประชุมไม่มีการทักท้วง หรือเสนอให้รื้อการแต่งตั้งระดับนายพลแต่อย่างใดเพียงแต่ถกเถียงกันเรื่อง ข้อกฎหมายเท่านั้น

พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวต่อว่า ส่วน

เรื่องสุดท้าย เรื่องการแต่งตั้ง รองผบก.- ลงมาก็ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เป็นไปตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง หากบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งไม่ได้เป็นไปตามกฎก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ขาดคุณสมบัติหรือต้องได้รับการยกเว้นต้องเสนอที่ประชุม ก.ตร. พิจารณาเป็นรายๆ ไปซึ่งต้องดูเหตุผลและความจำเป็น เป็นการยกเลิก มติก.ตร. ก่อนหน้านี้ที่ใช้พ.ร.บ.ตำรวจมาตรา 56 ให้ผบ.ตร.มีอำนาจในการแต่งตั้ง ในรูปของคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยรองผบ.ตร.และจเรตำรวจเป็นผู้ดำเนินการแต่ง ตั้ง

อำนาจการแต่งตั้งระดับรองผบก.ลงมานั้น หากพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.กลับมาปฎิบัติงานก็เป็นคนทำ แต่หากพล.ต.อ.พัชรวาท ไม่อยู่ก็ให้ รรท.ผบ.ตร.เป็นคนทำซึ่งต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 สิงหาคม ส่วนการแต่งตั้งระดับรองผบก. ลงไปนั้นต้องยึดกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งอย่างเคร่งครัดและให้รอบคอบที่สุดซึ่งเป็นปกติที่การแต่ง ตั้งข้าราชการตำรวจในทุกระดับจะต้องมีผลที่ผิดหวังและสมหวัง?โฆษก ตร.กล่าว ....
Read more ...

สุรยุทธ์ เลือ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ

16/10/52
8 ธ.ค.2549


นายกฯ นั่งประธาน ก.ตร. ครั้งแรก เลือก 6 ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ 


"ปุระชัย-สีมา-ชัยเกษม-สมศักดิ์-มนุชญ์-วรากรณ์" ยึดเก้าอี้ตามคาด 

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 8 ธันวาคม 2549  



พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เป็นครั้งแรก โดยมี 


พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 
นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (เลขาธิการ ก.พ.)
รอง ผบ.ตร. 
จเรตำรวจแห่งชาติ และ 
ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ 


1. พล.ต.อ.บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ 


2. พล.ต.ท.พิชิต ควรเตชะคุปต์ 


3. พล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี 


4. พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ ส่วน 


5. พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 


ไม่ได้เข้าประชุมในครั้งนี้ เนื่องจากเดินทางไปต่างประเทศ โดยใช้เวลาการประชุมประมาณ 15 นาที 

พล.ต.อ.โกวิท กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาคัดเลือก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้เชี่ยวชาญ 6 สาขา ตาม



มาตรา 30 (2) (ข) พ.ร.บ.ตำรวจ 


ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้มาดำรงตำแหน่ง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ประกอบด้วย 


สาขานิติศาสตร์ ได้แก่ นายชัยเกษม นิติสิริ รองอัยการสูงสุด 


สาขารัฐศาสตร์ ได้แก่ นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี 


สาขาอาชญาวิทยา ได้แก่ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สาขาบริหารงานยุติธรรม ได้แก่ นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด 



สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 


าขารัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่ นายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ ก.พ. 

หลังจากนี้จะมีการนำรายชื่อ ก.ตร.ทั้งหมดขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป 



สำหรับ พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ ที่กลับมารับตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัวหลังจากโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว ก็สามารถเป็น ก.ตร.โดยตำแหน่งได้ตามกฎหมาย
Read more ...

แขวนโผบิ๊กตำรวจ/ “ก.ตร.”เห็นขัดแย้ง/แนะรอผบ.ตร.ใหม่

16/10/52
ข่าววันที่ 21 กันยายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ


ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันที่ 21 ก.ค.52
พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รรท.ผบ.ตร.) 
เรียกประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
นายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติถึงระดับผู้บัญชาการ
โดยมีคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย


พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร.,
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ,
พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ รอง ผบ.ตร.,
พล.ต.อ. วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผบ.ตร.,
พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รองผบ.ตร.,
พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร.,
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผบ.ตร.


โดยใช้เวลาในการประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง
           
ต่อมา เวลา 13.00.น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ได้เดินทางมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประชุมก.ตร.ในวาระแต่งตั้ง โดยใช้เวลาในการหารือกว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง ทั้งนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ กล่าวภายหลังการประชุมสั้นๆ ว่า ตีกันวุ่น ก่อนที่จะเดินกลับเข้าห้องทำงานไป
           
ด้าน


พล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า วันนี้มีวาระแต่งตั้ง แต่ไม่มีการแต่งตั้ง เพราะมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่าควรมีการตั้งผบ.ตร.ก่อน
           
ขณะที่


พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


แถลงภายหลังประชุมคณะกรรม การ ก.ตร. ว่า การประชุมมีหลายวาระ แต่วาระสำคัญคือการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ซึ่งช่วงเช้ามีการประชุมกลั่นกรองไปแล้ว แต่มีก.ตร.หลายคนเสนอว่าก.ต.ช.ยังไม่สามารถตั้งผบ.ตร.คนใหม่ได้ โดยก.ตร.บางคนเสนอว่าควรรอแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ก่อน นายสุเทพจึงตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาอย่างไม่มีกำหนด เมื่อถามว่า การเลื่อนแต่งตั้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่พล.ต.อ.ธานีจะเกษียณอายุราชการหรือไม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ไม่เกี่ยวและไม่มีการพูดถึงประเด็นนี้
           
ประธาน ก.ตร.เห็นว่าให้เลื่อนการประชุมแต่งตั้งไปก่อน แต่ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องได้ ผบ.ตร.ใหม่ก่อนถึงค่อยแต่งตั้ง และหากภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ยังไม่มีการแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ก็จะตั้ง รรท.ผบ.ตร.ขึ้นมา เช่นเดียวกันหากยังไม่มีผบช.คนใหม่ ก็ใช้อำนาจตามกฎหมายและระเบียบตำรวจ ให้มีการรักษาราชการแทน ซึ่งหากไม่ออกคำสั่งก็เป็นไปตามอาวุโส หรือจะเป็นการออกคำสั่งตั้งตัวบุคคลก็ได้ ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการทำงาน นอกจากนี้ก.ตร.ได้ถอนวาระเรื่องการพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการการซื้อขายตำแหน่งออกไปด้วย
           
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุม


พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ


ได้เปิดประเด็นอภิปรายว่า ไม่สมควรพิจารณาการแต่งตั้งในครั้งนี้ เนื่องจากยังไม่ได้ ผบ.ตร.คนใหม่ โดยมีเสียงสนับสนุนจากก.ตร.หลายคน ตั้งแต่


นายชัยเกษม นิติศิริ,
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์,
พล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี และ
พล.ต.อ.บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ


ทำให้นายสุเทพตัดสินใจเลื่อนวาระการพิจารณาการแต่งตั้งออกไป ส่วนประเด็นที่ว่าการแต่งตั้งไม่ทันวันที่ 30 ก.ย. อาจทำให้เสียสิทธิ์ในเรื่องการขอเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์นั้น ก.ตร.มีการอภิปรายว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะสามารถทำได้
           
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวจะมีการต่ออายุราชการให้กับ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รักษาการผบ.ตร.อีก 1 ปี ว่า ไม่มี


ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ขณะนี้ได้มีการตกลงว่าจะทำให้เสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย. เพราะมีผลเกี่ยวกับการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังนั้นหากทำได้ตามที่กำหนดไว้ก็ทำ แต่ถ้าทำแล้วยังไม่เรียบร้อยก็ค่อยๆ ทำต่อไป
           
เมื่อถามว่า มีการวิจารณ์ว่าหากก.ตร.พิจารณาโผตามที่พล.ต.อ.ธานีเสนออาจจะไม่เหมาะสม เพราะเหลือเวลาราชการอีกเพียง 9 วัน นายสุเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้พล.ต.อ.ธานีไม่ได้ทำคนเดียว แต่จะมีคณะกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งรักษาการผบ.ตร.และรองผบ.ตร.ต้องประชุมกัน หากมีความเห็นอย่างไรก็นำเสนอต่อคณะกรรมการก.ตร. ซึ่งคณะกรรมการก.ตร.ก็จะมาร่วมกันพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง
Read more ...

บุญเพ็ญ-ธีรวุฒิ-นพดล-พิชิต-อำนวย คว้าก.ตร.

16/10/52
โดย ข่าวสด วัน เสาร์ ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เวลา 08:57 น.

จากกรณีการเสนอปรับโครงสร้างตำรวจให้ขึ้นตรงกับองค์กรท้องถิ่น เช่น กองบัญชาการตำรวจนครบาลขึ้นตรงกับกทม. ตำรวจภูธรจังหวัดขึ้นกับผวจ.นั้น เมื่อวันที่ 17 พ.ย. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอในการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่หลายฝ่ายเห็นไม่ตรงกันว่า การวิพากษ์วิจารณ์ถือเป็นเรื่องดี ข้อคิดเห็นต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนได้ ไม่มีอะไรที่จะไม่เปลี่ยนแปลง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะไปสังกัดหน่วยงานไหน เป็นเรื่องที่จะต้องหารือกันในวงกว้าง ตำรวจมีข้อคิดเห็นของตัวเอง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็มีข้อคิดเห็นของตัวเอง กระทรวงยุติธรรมก็มีข้อคิดเห็นเช่นกัน ดังนั้น ต้องรอให้ถึงเวลาที่ต้องเปิดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเข้ามาด้วย น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือประชาชน พล.อ.สุรยุทธ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ดูเหมือนตำรวจจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ถึงขนาดที่บางคนออกมาบอกว่าแผ่นดินอาจจะลุกเป็นไฟได้ พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ คิดว่าเป็นเรื่องของเหตุผลมากกว่า ว่าปรับปรุงแล้วจะมีอะไรที่เป็นประโยชน์ ถ้าประชาชนได้รับผลในทางที่ดีขึ้น คิดว่าเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ได้คุยกับนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรมแล้ว ก็อยู่ที่ทางกระทรวงยุติธรรมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ต้องดูกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ไม่ใช่ในชั้นตำรวจเท่านั้น แต่ต้องดูไปจนถึงขึ้นสุดท้ายคือศาล อย่างกรณีตนที่ถูกดำเนินคดีในฐานะผบ.ทบ.ประมาณ 5 ปี ในคดีที่เข้าควบคุมก๊อดอาร์มี่ ก็ต้องรอจนกว่าศาลจะตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด แต่บางครั้งคนก็มักจะมองว่า เมื่อเกิดคดีถือว่าผิด

นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า รายละเอียดโครงสร้างตำรวจ ตามที่ข่าวนำเสนอไปนั้นเป็นแค่โครงสร้างที่เคยศึกษาไว้ ไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการที่นายกฯ แต่งตั้งขึ้น สำหรับการปรับโครงสร้างตำรวจ คนที่จะแถลงข่าวหรือเปิดเผยรายละเอียดและแนวทางได้ ต้องเป็นประธานคณะกรรมการ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น หากพูดไปก่อนหน้าก็จะเป็นการล้ำหน้าคณะกรรมการ

พล.ต.ต.อุทัย อัศววิไล อดีตผู้บังคับการตำรวจสันติบาล แสดงความคิดเห็นถึงแนวคิดการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ขึ้นกับส่วนท้องถิ่นว่า ถ้าให้ตำรวจไปขึ้นกับท้องถิ่น ก็ทราบอยู่แล้วว่าท้องถิ่นมีอำนาจอิทธิพล และผลประโยชน์ปกครองกันอยู่ ถ้าให้ตำรวจไปอยู่ ก็ไม่ต่างกับให้ไปซุกใต้ปีกผู้มีอิทธิพล

เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ห้องประชุม 1 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการนับคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช รองผบ.ตร.เป็นประธาน ใช้เวลานับคะแนนทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง

ผลการนับคะแนนปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นก.ตร. 5 ราย คือ


อันดับ 1 พล.ต.อ.บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ อดีต รอง ผบ.ตร. นรต.20 ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ได้ 1,277 คะแนน



อันดับ 2 พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร. นรต.20 ได้ 976 คะแนน



อันดับ 3 พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ อดีต ที่ปรึกษา (สบ 11) นรต.21 ได้ 950 คะแนน



อันดับ 4 พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร. นรต.25 ได้ 891 คะแนน และ



อันดับ 5 พล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี อดีต ผบช.ภาค 3 นรต.21 ได้ 737 คะแนน

สำหรับผู้ที่ได้รับคะแนน


อันดับ 6 พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ได้ 664 คะแนน
อันดับ 7 พล.ต.ท.เหมราช ธารีไทย 663 คะแนน
อันดับ 8 พล.ต.ท.ไพศาล ตั้งใจตรง ได้ 606 คะแนน
อันดับ 9 พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก ได้ 604 คะแนน
อันดับ 10 พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผบ.ตร. ได้ 568 คะแนน
อันดับ 11 พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ ได้ 539 คะแนน
อันดับ 12 พล.ต.อ.ไกรสุข สินศุข ได้ 476 คะแนน
อันดับ 13 พล.ต.ท.กิตติ สินธุสุวรรณ ได้ 430 คะแนน
อันดับ 14 พล.ต.ท.สาโรจน์ ปัญญา ได้ 203 คะแนน และ
อันดับ 15 พล.ต.ท.โยธิน มัธยมนันท์ ได้ 161 คะแนน

พล.ต.อ.อชิรวิทย์ รองผบ.ตร. กล่าวภายหลังประกาศผลการนับคะแนนว่า การเลือกตั้งก.ตร.ในปีนี้มี

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 2,681 นาย
ใช้สิทธิ์ 2,336 นาย 
คิดเป็น 87.13 เปอร์เซ็นต์

ก.ตร.ที่ได้รับการเลือกตั้งทั้ง 5 คน จะต้องร่วมกับก.ตร.โดยตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วย ผบ.ตร. รองผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ เพื่อเลือกก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ อีก 6 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการนับคะแนนเลือกตั้งก.ตร.ครั้งนี้ เป็นไปด้วยความตื่นเต้น ได้รับความสนใจจากข้าราชการตำรวจจำนวนมากมารอดูการนับคะแนน และลุ้นผู้ที่ตนนิยม มีการจับกลุ่มพูดคุยกันอย่างคึกคักตลอดเวลา
Read more ...

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ “พล.ต.อ.” แก่ พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ เป็นกรณีพิเศษ

16/10/52

มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลตำรวจเอกเป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ นายตำรวจพ้นราชการ

วันนี้ (14 ส.ค.2551) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล เป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม  2551 มีใจความว่า

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลตำรวจเอก เป็นกรณีพิเศษ ให้แก่

พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ นายตำรวจพ้นราชการ

ซึ่งขณะรับราชการ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติดี ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วิริยะ อุตสาหะ ตลอดมา ทั้งราชการปกติ และ ราชการพิเศษ 


รวมทั้งได้ให้ การสนับสนุนราชการ ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะ กรรมการข้าราชการตำรวจ ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นประโยชน์ แก่ ราชการ และประเทศชาติ โดยส่วนรวม ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2551

ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2551

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระราชโองการ
Read more ...

ก.ตร.ฉลุยโผแต่งตั้ง "อ.ปุ - พิชิต" วอร์คเอาท์กลางคัน!

16/10/52


16 ตุลาคม 2552 15:25 น.


"สุเทพ" นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.ตร. ถกโผแต่งตั้งระดับรองผบ.ตร.เสร็จ หลังที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มีมติเห็นชอบ พร้อมตั้ง"สมศักดิ์ บุญทอง" เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโผแต่งตั้ง ด้าน "ปุระชัย - พิชิต" หัวเสียวอร์คเอาท์ออกกลางคัน อ้างไม่เห็นด้วย    
       

วันนี้(16 ต.ค.2552 ) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) 


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง 


เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) โดยมี 


-พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
-รองผบ.ตร. 
-จเรตำรวจ และ
-ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ


เข้าร่วมประชุม 


โดยใช้เวลาการประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งนี้เวลา 11.20น. 


ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ 


ก็เดินออกมา และตามด้วย 


พล.ต.อ พิชิต ควรเตชะคุปต์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ 


อีก 1 ท่านเดินตามออกมา แต่การประชุมก็ดำเนินต่อไปจนถึงเวลา 13.20 น.       
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ พล.ต.อ.พิชิต เดินทางกลับนั้น มีสีหน้าเคร่งเครียด เมื่อถามถึงมติการประชุมก.ตร.ว่าแต่งตั้งได้หรือไม่ ตอบว่าไม่รู้ ตนออกมาก่อน และท่านปุระชัยจะให้สัมภาษณ์ ส่วนที่ตนไม่เห็นด้วยนั้น เพราะยึดตามหลักการ    
       

พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผช.ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้ที่ประชุมมีมติ 2 เรื่องที่สำคัญเพื่อแจ้งให้ทราบและที่วันนี้ใช้เวลานานเนื่องจากที่ประชุมให้กต.ร. ทุกท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจวาระประจำปีในระดับ รองผบ.ตร.ลงไป ว่าควรดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติใน 2 เรื่อง ว่าควรแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 1,560 ตำแหน่ง


โดย ก.ตร. ทั้งหมด 18 ท่าน มี 16 ท่านให้ความเห็นว่า ควรดำเนินการแต่งตั้งทันที่ที่พร้อม เนื่องมีตำแหน่งหลักที่ว่างลงจำนวนและหากไม่แต่งตั้ง จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตำรวจ และประชาชน ส่วนอีก 2 ท่านทีไม่เห็นด้วย คือ 


ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และ 
พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ 


โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่ควรทำ ให้รอไว้ก่อน ก่อนจะเดินออกจากห้องประชุมได้ โดยปฎิเสธว่าไม่ได้เป็นการวอร์คเอาท์แต่อย่างใด เมื่อถามว่า ทั้งสองท่านต้องการให้ได้ ตำแหน่งผบ.ตร.ก่อนหรือไม่ พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ไม่ได้มีการพูดอย่างชัดเจนขนาดนั้น เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และเสียงส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยก็เป็นไปตามมติ    
       

พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า สำหรับ


ประเด็นที่ 2 คือ ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกจากชุดเดิมที่มี ผบ.ตร. เป็นประธานบอร์ดกลั่นกรอง และมี รองผบ.ตร. จต.ช. เป็นคณะกรรมการ แต่ครั้งนี้เห็นว่าให้มีการพิจารณาร่วมกัน โดยเสนอให้เพิ่ม ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าไปในคณะกรรมการคัดเลือกอีก 6 ท่านประกอบด้วย 



1. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขา ก.พ. 

2. นายชัยเกษม นิติศิริ 

3. พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 

4. พล.ต.อ.บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ 

5. นายสีมา สีมานันท์(อดีตเลขาธิการ กพ.) และ 

6. นายสมศักดิ์ บุญทอง (อดีตรองอัยการสูงสุด)



โดยที่ประชุมมีมติให้นายสมศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือก ทั้งนี้ การเพิ่มคณะกรรมการขึ้นดังกล่าว เนื่องจากการแต่งตั้งครั้งนี้สังคมจับตามอง ต้องการความโปร่งใส และเป็นธรรม โดยนายสุเทพจะรายชื่อดังกล่าวออกประกาศ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีลงนาม 


ซึ่งในสัปดาห์ นายสุเทพ จะประกาศคณะกรรมการกลั่นกรองอย่างเป็นทางการ และจะนัดคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายก่อนเสนอให้ ก.ตร.พิจารณาตามขั้นตอน ซึ่งในเบื้องต้นจะมีการแต่งตั้งระดับรองผบ.ตร.ลงไปจนถึงระดับ ผบ.ช. ก่อนเป็นอันดับแรก 


คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 20 พ.ย.       
       

พล.ต.ท.พงศ์พัศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมสรุปว่า ให้มีการแต่งตั้ง เนื่องจาก


เหตุผลความจำเป็นเปลี่ยนไป คนทำบัญชีไม่ได้เกษียณอายุราชการ เหมือนพล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รรท.ผบ.ตร. ส่วนที่ ก.ตร. 2 ท่านไม่เห็นด้วย ไม่ถือว่ามีปัญหาอะไร เพราะ ก.ตร.ที่เหลืออีก 16 ท่านเห็นชอบให้มีการแต่งตั้ง


เนื่องจากตำแหน่งหลักที่ขาดจากการเกษียณอายุราชการมีถึง 1,560 ตำแหน่ง การรักษาราชการแทนก็มีข้อจำกัดในเรืองการทำงานบ้าง การแต่งตั้งลงไปก็เพื่อดูแลประชาชนได้มากขึ้น
Read more ...

ก.ตร.นอกรอบไฟเขียวไม่ต้องรอ ผบ.ตร.ตัวจริง! ตั้งรอง ผบ.ตร.ลงไปโดยเร็ว

9/10/52
8 ตุลาคม 2552 17:00 น.

ก.ตร.นอกรอบได้ข้อสรุป นัดประชุม ก.ตร.สัปดาห์หน้าเพื่อพิจารณาแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.ลงไปโดยไม่ต้องรอ ผบ.ตร.ตัวจริง ส่วนจะรื้อโผเดิมหรือไม่ ขึ้นกับมติ ก.ตร.ที่จะหารือกัน    
     
วันนี้ (8 ต.ค.2552)เวลา 11.30 น.ที่โรงแรมสยามซิตี ถนนศรีอยุธยา

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดรับประทานอาหารกลางวันและหารือนอกรอบกับ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 10 ท่าน ที่ห้องอาหารจีนลินฟา โดยมี ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมโต๊ะเกือบครบ ขาดเพียง

ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ

คนเดียวเท่านั้นเนื่องจากติดบรรยายพิเศษ ซึ่ง ก.ตร.นอกรอบครั้งนี้ใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยนายสุเทพมีสีหน้าสดชื่น ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยแจ้งว่าจะต้องรีบไปตอบกระทู้ในสภาฯ    
      
พล.ต.ท.เหมราช ธารีไทย ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ 



กล่าวภายหลังร่วมหารือว่า วันนี้เป็นการหารือนอกรอบ ซึ่งนายสุเทพไม่ต้องการให้ตำแหน่งว่าง โดยสัปดาห์หน้าจะมีการประชุม ก.ตร.เพื่อหารือกันอย่างเป็นทางการว่าจะดำเนินการแต่งตั้งโดยเร็วหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ ซึ่งผลการหารือวันนี้ส่วนใหญ่เห็นว่าควรแต่งตั้งเพราะว่าช้าไปจะลำบาก เรื่องตำแหน่ง ผบ.ตร.ตัวจริง ไม่ใช่เงื่อนไขแล้ว วงหารือเห็นว่าแต่งตั้งได้โดยไม่ต้องรอให้ได้ ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งจะให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทน ผบ.ตร.ดำเนินการแต่งตั้งไป ทั้งนี้ รรท.ผบ.ตร.มีหน้าที่อยู่แล้ว สุดแต่ประธาน ก.ตร.จะสั่ง    
     
เมื่อถามถึงโผแต่งตั้งโยกย้ายรอง ผบ.ตร.ลงมาที่ผ่านคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติ หรือบอร์ดกลั่นกรองไปแล้ว พล.ต.ท.เหมราช กล่าวว่า อันนี้ไม่ทราบ มันต้องเสนอเข้าคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งในชั้นต้นในการประชุม ก.ตร.ครั้งหน้า ท่านประธานจะนำเสนอความคิดว่าควรดำเนินการแต่งตั้งโดยเร่งด่วนหรือไม่ หากที่ประชุมเห็นด้วยว่าควรดำเนินการก็จะเริ่มกระบวนการและนัดประชุม ก.ตร.อีกครั้งเพื่อพิจารณาวาระแต่งตั้งโยกย้าย    
     
“วันนี้ไม่มีการถกประเด็นปัญหาจาก ก.ตร.ครั้งก่อน ไม่มีการยกประเด็นเรื่องรอ ผบ.ตร.คนใหม่มาทำการแต่งตั้ง คงบอกไม่ได้ว่าเรื่อง ผบ.ตร.คนใหม่เคลียร์หรือไม่ แต่ไม่ได้พูดกันในวงนี้ ไม่มีการถกเรื่องข้อกฎหมายใดๆ เราพูดกันแต่ว่า ก.ตร. ควรจะแต่งตั้งโดยเร็วหรือไม่ แต่วันนี้ที่หารือกันก็ไม่เป็นเอกฉันท์ แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็มีเสียงส่วนน้อยที่ค้านมาว่ายังไม่ควรแต่งตั้ง ส่วนใหญ่เห็นว่าจำเป็นต้องทำ ส่วนจะต้องเริ่มกลั่นกรองกันใหม่หรือไม่ขึ้นอยู่กับมติ ก.ตร.ครั้งหน้า ซึ่งอาจมีการสั่งการให้ดำเนินการตามกระบวนการการแต่งตั้ง” ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าว    
     
พล.ต.ท.เหมราช กล่าวว่า การแต่งตั้งรอไม่ได้เพราะเหตุผลหลายอย่าง อย่างแรกหัวไม่มี ตอนนี้ว่างอยู่ไปจนถึงระดับโรงพัก ประการที่ 2 การปล่อยให้ว่างมันลำบาก ระบบการทำงานเสีย คนไปทำงานแทนจะไปทำอะไรจริงจังเพราะทำไป 2-3 เดือน ก็ไม่ได้เป็นตัวจริง งานมันจึงไม่ต่อเนื่อง แต่ตำรวจไม่ได้เกียร์ว่างหรอก เพราะงานป้องกันปราบปรามตำรวจทำอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือกองทัพไม่มีแม่ทัพ ขวัญกำลังใจของทหารก็ไม่ดี ซึ่งการประชุม ก.ตร.ครั้งหน้าจะลงมติกันว่าจะแต่งตั้งหรือไม่    
     
เมื่อถามว่าควรเปลี่ยนโผแต่งตั้งโยกย้ายที่ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ อดีตรรท.ผบ.ตร.ทำไว้หรือไม่ พล.ต.ท.เหมราช กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็น เรื่องนี้ต้องเข้ากระบวนการแต่ก็น่าจะเริ่มกระบวนใหม่ ปัญหาคือว่า รอง ผบ.ตร.ที่ร่วมพิจารณาในบัญชีเก่าก็ยังอยู่ครบ ขาดเพียง พล.ต.อ.ธานี ซึ่ง พล.ต.อ.ธานีและคณะก็ทำไว้ค่อนข้างดี ก็น่ายึดถือได้    
     
ผู้สื่อข่าวถามว่าผู้ที่ได้รับเสนอชื่อแต่งตั้งในโผคราวก่อนแต่ต้องหลุดไปในโผ ครั้งนี้สามารถฟ้องร้องได้หรือไม่ 



พล.ต.ท.เหมราช กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับเหตุผลว่าตกไปเพราะอะไร แต่ทั้งนี้สามารถขอความเป็นธรรมเรียกร้องสิทธิ์ได้ ซึ่งหากมีการรื้อหรือเปลี่ยนแปลงโผก็ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ เพราะการแต่งตั้งคราวที่แล้วยังไม่เด็ดขาด เหมือนเดินมาครึ่งทางแล้วหยุด จะเดินต่อไปหรือถอยหลังก็อีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตามบอร์ดกลั่นกรองอาจมีการเปลี่ยนแปลง มีแนวโน้มจะให้ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมด้วย ซึ่งกลับเป็นเหมือนอดีตที่ให้ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกลั่นกรองด้วยก่อนนำเข้า ก.ตร.    
     
ด้าน พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะคณะอนุก.ตร.ตรวจสอบการซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้ง วาระประจำปี 2552 กล่าวว่า วันนี้ไม่มีการพูดเรื่องยุติการซื้อขายตำแหน่ง หรือประเด็นการตรวจสอบเรื่องนี้ ในวงหารือเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรแต่งตั้งระดับรอง ผบ.ตร.-สว.ใหญ่โดยเร็ว เพราะประชาชนและประเทศชาติจะได้รับผลประโยชน์ ส่วน ผบ.ตร.ยังไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะคนที่จะเป็น ผบ.ตร.คนต่อไปก็นั่งอยู่ในก.ตร.นี่แหละ วันนี้ไม่มีการพูดถึงตัวคนแต่อย่างใด ซึ่ง ก.ตร.ในสัปดาห์หน้าจะได้หารือกันถึงข้อดีข้อเสียในการดำเนินการแต่งตั้ง แล้วมาชั่งน้ำหนักกัน ก.ตร.คงเกิดขึ้นเร็วๆนี้ เพราะไม่ควรจะรอ    
     
“อาจเปลี่ยนหัวโต๊ะในบอร์ดกลั่นกรอง จะเป็นใครต้องรอดูมติ ก.ตร.ครั้งหน้า ซึ่งจะตั้งบอร์ดกลั่นกรองใหม่ เอาบอร์ดเก่าบอร์ดใหม่มารวมกัน ทั้งนี้ แม้มี ก.ตร.บางท่านยังไม่เห็นด้วยว่าควรแต่งตั้งก็ไม่มีปัญหาเรื่องเอกภาพ เพราะไม่จำเป็น หากเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้วมันเกิดประโยชน์กับบ้านเมืองก็ควรทำ” พล.ต.อ.นพดล กล่าว    
     
เมื่อถามถึงการซื้อขายตำแหน่งที่คณะอนุฯประกาศว่าเรื่องนี้จะไม่มีมวยล้มต้มคนดูแต่กลับยุติ พล.ต.อ.นพดล กล่าวว่า วันนี้ไม่คุยกันเรื่องนี้ ซึ่งตนยังไม่เห็นว่ายุติอย่างไร อย่างไรก็ตาม วาระปี 2552 ยังไม่แต่งตั้ง จึงไม่มีการทำผิด แต่ผลที่เราพบความผิดปกติในการแต่งตั้งปี 2551จะเอามาหาแนวทางแก้ไขการแต่งตั้งครั้งหน้า ซึ่งจะนำเข้า ก.ตร.พิจารณา

Read more ...

ปรุงเปิดทางให้นายกฯตั้งวัชรพลนั่งเลขาฯ กตช.(3 ธ.ค.2551)

2/10/52


สำนักข่าวที-นิวส์ 2008-03-12




นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ตช. มีคำสั่งแต่งตั้งให้ 


พล.ต.ท.วัชพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นเลขานุการ ก.ตช. 


พล.ต.ท.จิโรจน์ ไชยชิต ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ตช. 


เนื่องจาก พล.ต.อ.ปรุง บุญผดุง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่ายกิจการพิเศษและเลขานุการ ก.ตช. มีหนังสือขอลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้ประธาน ก.ตช.พิจารณาแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่แทน
Read more ...

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "ปรุง" เป็นหน.ตร.ราชสำนักประจำ

2/10/52

วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 16:37:44 น. มติชนออนไลน์

สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศแต่งตั้งนายตำรวจราชสำนักประจำ โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 6 นายตำรวจราชสำนักประจำ มี "ปรุง บุญผดุง" เป็นหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศแต่งตั้งนายตำรวจราชสำนักประจำ โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายตำรวจราชสำนักประจำให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ จำนวน 6 นาย ดังนี้

1.พล.ต.อ.ปรุง บุญผดุง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 10)

2.พล.ต.ค.ชลธาร จิราณรงค์ นายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 7) ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจราชสำนักประจำ

3.พล.ต.ต.ณรงค์ กาญจนะ รองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจราชสำนักประจำ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจราชสำนักประจำและเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ

4.พล.ต.ต.สมชาย สิริวีรพจน์ นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 6) ดำรงตำแหน่ง นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 7)

5.พ.ต.อ.ดุสิต สังขะเมฆะ นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 5) ดำรงตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 6)

6. พ.ต.อ.สมรัตน์ โกษากุล รองผู้บังคับการ ประจำสำนักงาน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประจำหัวหน้านายตำรวจราชสำนัก(สบ 10)) ดำรงตำแหน่ง นายตำรวจราชสำนักประจำ(สบ 5) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2551 นายเชาวรัตร์ ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้เรียกประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2551 เวลา 15.00 น. โดยนายเชาวรัตร์ ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งจะนำเรื่องการโปรดเกล้า พล.ต.อ.ปรุง เข้าที่ประชุมให้รับทราบ โดยตำแหน่ง รอง.ผบ.ตร.ที่ว่างลง คงจะมีการพิจารณาต่อเนื่อง
Read more ...

ข่าว กรณีท่านวิเชียรถูกห้ามเข้าวัง ( 6 ส.ค.2552 )

2/10/52



เอเอสทีวี-ผู้จัดการ : วันนี้ (6 ส.ค.2552) นายสำราญ รอดเพชร แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 กล่าวในรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์” ทางเอเอสทีวี ถึงข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ซึ่งอาจมีปัญหาในการทำหน้าที่รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามที่ 


นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา 
ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา 


ตั้งข้อสังเกตไว้เมื่อวานนี้ว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2549 โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน พล.อ.สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์ สมุหราชองครักษ์ ได้ทำหนังหนังสือถึงราชเลขาธิการ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี พ้นจากตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2549 เป็นต้นไป
นายสำราญกล่าวต่อว่า หลังจากมีหนังสือดังกล่าวออกมาแล้ว ได้มีข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับตัว พล.ต.อ.วิเชียร และมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นายประพันธ์ คูณมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมถึงเรื่องดังกล่าวว่า ในปี 2549 นั้น มีคำสั่งให้ พล.ต.อ.วิเชียร พ้นจากตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ หลังจากที่ พล.ต.อ.วิเชียรได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่นี้มาหลายปี แต่ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นั้น 


ช่วงประมาณวันที่ 19-20 พล.ต.อ.วิเชียร ไม่ได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ถวายการรักษาความปลอดภัยและเตรียมพร้อม ณ ที่ตั้ง จึงมีการให้ออกจากตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ และให้มาปฏิบัติหน้าที่ สตช. ต่อมา สตช.ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเดือนมีนาคม 2550 โดยคำสั่งของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร.ในขณะนั้น และมี พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการสอบสวน
นายประพันธ์กล่าวต่อว่า พล.ต.อ.วิเชียร ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบสวนด้วยตัวเองถึงเหตุผลที่ไม่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่และไม่ได้ไปรายงานตัวต่อ คปค.ในช่วงวันที่ 19 ก.ย.49 เนื่องจากป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยมีแพทย์และหลักฐานยืนยัน ซึ่งในที่สุดคณะกรรมการสอบสวนมีมติให้ยุติเรื่อง เพราะถือว่าไม่เป็นความผิด เหตุที่ไม่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ช่วงดังกล่าวก็เพราะป่วย โดยมีคำยืนยันจากแพทย์ และในวันต่อมาก็ได้เข้าไปรายงานตัวแล้ว
นายประพันธ์กล่าวอีกว่า ผลสอบกรณีดังกล่าวออกมาเป็นอย่างนี้ ส่วนจะมีความเหมาะสมในการแต่งตั้งเป็น รักษาการ ผบ.ตร.หรือไม่ หรือว่าเหมาะสมที่จะเป็น ผบ.ตร.ในอนาคตหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารว่าผลสอบสวนเรื่องนี้มีความกระจ่างหรือยัง ซึ่งถ้ายังมีคดีติดตัวอยู่ก็คงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับการแต่งตั้งอยู่แล้ว ส่วนทางฝ่ายสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำจะมีความชัดเจนเรื่องนี้แล้วหรือยัง เราไม่ทราบ
อย่างไรก็ตาม นายประพันธ์กล่าวต่อว่า ยังมีหนังสืออีกฉบับหนึ่งลงวันที่ 27 กันยายน 2548 ซึ่งน่าจะเป็นการลง พ.ศ.ผิด เพราะในเลขรับลงวันที่ 28 ก.ย.2549 และเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากการพ้นตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ ซึ่งเนื้อความในหนังสือฉบับนี้อาจเป็นปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่รักษาการ ผบ.ตร.ของ พล.ต.อ.วิเชียร หากยังมีผลอยู่ แต่ทั้งนี้เมื่อมองในแง่หนึ่งก็อาจถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเมื่อ พล.ต.อ.วิเชียร พ้นจากตำแหน่งหน้าที่นายตำรวจราชสำนักประจำแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในเขตพระราชฐานอีก
อนึ่ง เอกสารลงวันที่ 27 กันยายน 2548 ตามที่ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” ได้รับมานั้น เป็นหนังสือเลขที่ ตช 0033/2270 จากสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ ลงนามโดย พล.ต.ท.ฉัตรชัย โปตระนันท์ ผู้บัญชาการสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ ถึงราชเลขาธิการ เรื่อง ห้าม พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เข้ามาภายในเขตพระราชฐาน สำนักราชเลขาธิการลงเลขรับที่ 20611 วันที่ 28 ก.ย.2549 เวลา 11.05 น.
เนื้อความในหนังสือฉบับนี้ระบุว่า “ด้วยได้รับบัญชาจากสมุหราชองครักษ์ แจ้งให้สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำทราบว่า บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี พ้นจากตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำเรียบร้อยแล้ว ทำให้ พล.ต.อ.วิเชียร ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาปฏิบัติภารกิจหรืองานราชการใดภายในเขตพระราชฐานต่างๆ ดังนั้น สมุหราชองครักษ์จึงได้มีบัญชาห้าม พล.ต.อ.วิเชียร เข้ามาในเขตพระตำหนักสวนจิตรลดา, วังไกลกังวล, พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์, ภูพานราชนิเวศน์, ภูพิงคราชนิเวศน์ และเขตพระราชฐานต่างๆ ทั้งนี้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม