โดยผู้จัดการ เมื่อ 29 ส.ค.2555
เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางของคนในแวดวงสีกากี กับการขออนุมัติเปิดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านสืบสวน ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารอง ผบ.ตร.ยศ พล.ต.อ. เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งได้มีการบรรจุเรื่องนี้ลงในวาระการประชุมก.ตร.ครั้งที่ 12/2555 ในวันที่ 29 ส.ค.นี้ โดย “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ชงเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
สำหรับตำแหน่งนี้เดิมทีใช้ชื่อว่าที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านสืบสวนโดยใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์ แต่เกรงจะถูกมองว่าล็อกสเป็คจึงได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลง ขณะเดียวกันจะต้องมีการเตรียมหาเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเตรียมชี้แจงต่อที่ประชุม ก.ตร. ว่าทำไมจะต้องเปิดตำแหน่งขึ้นมาใหม่ ทั้งที่ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีรองผบ.ตร.ครบทุกหน้างานอยู่แล้วถึง 7 คน ที่ปรึกษา (สบ 10) อีก 6 คน นี่ไม่นับรวม จเรตำรวจแห่งชาติ
ขณะเดียวกัน ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ยังสามารถมอบหมายให้กับผู้ช่วย ผบ.ตร.ซึ่งมีอยู่ถึง14 คน ยังไม่รวบตำแหน่งเทียบเท่า อาจกล่าวได้ว่าการขอเปิดตำแหน่งนี้โดยอ้างเรื่องความจำเป็นเพราะคนน้อยไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน จึงดูมีน้ำหนักน้อยเต็มที
ลือกันให้แซดว่าตำแหน่งที่เปิดใหม่นี้เป็นการปูทางไว้ให้ “เดอะปั้น” พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วย ผบ.ตร ได้ติดยศ พล.ต.อ. ขณะที่เจ้าตัวยังเหลืออายุราชการอีก 2 ปี ทำให้หลายคนสงสัยว่า พล.ต.ท.จรัมพร ผู้นี้มีกำลังภายใน หรือมีดีอะไรนักหนา ที่ทำให้รองนายกฯ ต้องออกโรงเปิดตำแหน่งให้เป็นการเฉพาะ
เรื่องนี้ก็มีการซุบซิบกันว่า พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รอง ผบ.ตร. เพื่อนร่วมรุ่น นรต.28 เป็นคนชงให้กับ ร.ต.อ.เฉลิม ในวงสนทนา ซึ่งมีเจ้าตัวร่วมอยู่ด้วย โดยให้เหตุผลถึงการทำงานผ่านหน้าจอของ พล.ต.ท.จรัมพร ที่ผ่านมา ขณะที่อีกกระแสว่ากันว่าเจ้าตัวได้เดินทางไปพบ “บิ๊กแม้ว” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยตนเอง ส่วนจะได้เอ่ยปากขอตำแหน่งนี้ด้วยหรือไม่ ยังไม่มีใครคอนเฟิร์ม
ว่ากันว่าเหตุผลในตอนแรกที่จะเปิดตำแหน่งโดยกำหนดสเปกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้มาคุมงานด้านนี้โดยเฉพาะ และหากจะเอาคุณสมบัติข้อนี้ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็คงมีแต่ พล.ต.ท.จรัมพร เพียงผู้เดียวเท่านั้น เพราะหากย้อนดูข่าวคราวที่ปรากฏตามสื่อก่อนหน้านี้ จะคุ้้นเคยกับภาพ พล.ต.ท.จรัมพร ที่ออกมาฉุยฉายให้ความเห็นทางนิติวิทยาศาสตร์ทางจอแก้ว ราวกับเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ทั้งที่ พล.ต.ท.จรัมพร เองก็ไม่ได้มีคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์ เพียงแต่เคยไปกินตำแหน่ง ผบช.สพฐ.ตร.เพียงแค่ขวบปีเท่านั้น หากจะกำหนดคุณสมบัตินี้ในการขอเปิดตำแหน่ง เรื่องก็อาจถูกตีตกในที่ประชุมได้ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งให้หาเหตุผลมาสนับสนุนได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลักดันจนสามารถเปิดตำแหน่งขึ้นมาได้จริง อีกประเด็นที่อาจทำให้ พล.ต.ท.จรัมพร วืดไม่ได้รับการแต่งตั้ง คือ เจ้าตัวนั้นมีอาวุโสเป็นอันดับ 2 รองจาก พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ ซึ่งตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ระบุชัดว่าการแต่งตั้ง ผู้ช่วย ผบ.ตร.ขึ้นเป็นรอง ผบ.ตร.ต้องเรียงอันดับอาวุโส จึงยังไม่รู้ว่าผู้มีอำนาจอย่าง รองนายกฯ เฉลิม จะปลดล็อกเรื่องนี้ได้อย่างไร
แต่กระนั้นไม่วายมีเสียงคัดค้าน และไม่เห็นด้วยของคนในแวดวงตำรวจ เพราะอย่างที่ทราบปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติขาดแคลนกำลังพลในระดับปฏิบัติการ ซึ่งก็คือคนที่ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับประชาชนจริงๆ เพราะอย่างที่ทราบนโยบายตำรวจนิยมของทั่นรองนายกฯ เฉลิม ที่ให้มีการเลื่อนชั้นตำรวจชั้นประทวนเป็นตำรวจสัญญาบัตรได้ง่ายขึ้น ยิ่งทำให้คนทำงานยิ่งน้อยลงไปอีก การเปิดตำแหน่งผู้บริหารเพิ่ม แทนที่จะเป็นผู้ปฏิบัติ จึงยิ่งดูจะไม่เหมาะสมกับสภาวะกาลเท่าใดนัก
จึงอยากฝากถึงผู้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ต้องตระหนักว่า ในการเปิดตำแหน่งใหม่ทุกครั้งนั้นมีต้นทุนที่จะต้องจ่าย นั่นคือเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของประชาชน จึงต้องใคร่ครวญว่าการที่จะเติมเต็มความต้องการของคนเพียงหนึ่งคน แต่กลับต้องให้ประชาชนต้องมาแบกรับภาระโดยที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ขณะเดียวกันยังทำลายโครงสร้างและบั่นทอนการพัฒนาองค์กรในอนาคต หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง...
Read more ...
เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางของคนในแวดวงสีกากี กับการขออนุมัติเปิดตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านสืบสวน ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารอง ผบ.ตร.ยศ พล.ต.อ. เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งได้มีการบรรจุเรื่องนี้ลงในวาระการประชุมก.ตร.ครั้งที่ 12/2555 ในวันที่ 29 ส.ค.นี้ โดย “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ชงเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
สำหรับตำแหน่งนี้เดิมทีใช้ชื่อว่าที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านสืบสวนโดยใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์ แต่เกรงจะถูกมองว่าล็อกสเป็คจึงได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลง ขณะเดียวกันจะต้องมีการเตรียมหาเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเตรียมชี้แจงต่อที่ประชุม ก.ตร. ว่าทำไมจะต้องเปิดตำแหน่งขึ้นมาใหม่ ทั้งที่ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีรองผบ.ตร.ครบทุกหน้างานอยู่แล้วถึง 7 คน ที่ปรึกษา (สบ 10) อีก 6 คน นี่ไม่นับรวม จเรตำรวจแห่งชาติ
ขณะเดียวกัน ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ยังสามารถมอบหมายให้กับผู้ช่วย ผบ.ตร.ซึ่งมีอยู่ถึง14 คน ยังไม่รวบตำแหน่งเทียบเท่า อาจกล่าวได้ว่าการขอเปิดตำแหน่งนี้โดยอ้างเรื่องความจำเป็นเพราะคนน้อยไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน จึงดูมีน้ำหนักน้อยเต็มที
ลือกันให้แซดว่าตำแหน่งที่เปิดใหม่นี้เป็นการปูทางไว้ให้ “เดอะปั้น” พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วย ผบ.ตร ได้ติดยศ พล.ต.อ. ขณะที่เจ้าตัวยังเหลืออายุราชการอีก 2 ปี ทำให้หลายคนสงสัยว่า พล.ต.ท.จรัมพร ผู้นี้มีกำลังภายใน หรือมีดีอะไรนักหนา ที่ทำให้รองนายกฯ ต้องออกโรงเปิดตำแหน่งให้เป็นการเฉพาะ
เรื่องนี้ก็มีการซุบซิบกันว่า พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รอง ผบ.ตร. เพื่อนร่วมรุ่น นรต.28 เป็นคนชงให้กับ ร.ต.อ.เฉลิม ในวงสนทนา ซึ่งมีเจ้าตัวร่วมอยู่ด้วย โดยให้เหตุผลถึงการทำงานผ่านหน้าจอของ พล.ต.ท.จรัมพร ที่ผ่านมา ขณะที่อีกกระแสว่ากันว่าเจ้าตัวได้เดินทางไปพบ “บิ๊กแม้ว” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยตนเอง ส่วนจะได้เอ่ยปากขอตำแหน่งนี้ด้วยหรือไม่ ยังไม่มีใครคอนเฟิร์ม
ว่ากันว่าเหตุผลในตอนแรกที่จะเปิดตำแหน่งโดยกำหนดสเปกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้มาคุมงานด้านนี้โดยเฉพาะ และหากจะเอาคุณสมบัติข้อนี้ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็คงมีแต่ พล.ต.ท.จรัมพร เพียงผู้เดียวเท่านั้น เพราะหากย้อนดูข่าวคราวที่ปรากฏตามสื่อก่อนหน้านี้ จะคุ้้นเคยกับภาพ พล.ต.ท.จรัมพร ที่ออกมาฉุยฉายให้ความเห็นทางนิติวิทยาศาสตร์ทางจอแก้ว ราวกับเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ทั้งที่ พล.ต.ท.จรัมพร เองก็ไม่ได้มีคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์ เพียงแต่เคยไปกินตำแหน่ง ผบช.สพฐ.ตร.เพียงแค่ขวบปีเท่านั้น หากจะกำหนดคุณสมบัตินี้ในการขอเปิดตำแหน่ง เรื่องก็อาจถูกตีตกในที่ประชุมได้ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งให้หาเหตุผลมาสนับสนุนได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลักดันจนสามารถเปิดตำแหน่งขึ้นมาได้จริง อีกประเด็นที่อาจทำให้ พล.ต.ท.จรัมพร วืดไม่ได้รับการแต่งตั้ง คือ เจ้าตัวนั้นมีอาวุโสเป็นอันดับ 2 รองจาก พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ ซึ่งตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ระบุชัดว่าการแต่งตั้ง ผู้ช่วย ผบ.ตร.ขึ้นเป็นรอง ผบ.ตร.ต้องเรียงอันดับอาวุโส จึงยังไม่รู้ว่าผู้มีอำนาจอย่าง รองนายกฯ เฉลิม จะปลดล็อกเรื่องนี้ได้อย่างไร
แต่กระนั้นไม่วายมีเสียงคัดค้าน และไม่เห็นด้วยของคนในแวดวงตำรวจ เพราะอย่างที่ทราบปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติขาดแคลนกำลังพลในระดับปฏิบัติการ ซึ่งก็คือคนที่ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับประชาชนจริงๆ เพราะอย่างที่ทราบนโยบายตำรวจนิยมของทั่นรองนายกฯ เฉลิม ที่ให้มีการเลื่อนชั้นตำรวจชั้นประทวนเป็นตำรวจสัญญาบัตรได้ง่ายขึ้น ยิ่งทำให้คนทำงานยิ่งน้อยลงไปอีก การเปิดตำแหน่งผู้บริหารเพิ่ม แทนที่จะเป็นผู้ปฏิบัติ จึงยิ่งดูจะไม่เหมาะสมกับสภาวะกาลเท่าใดนัก
จึงอยากฝากถึงผู้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ต้องตระหนักว่า ในการเปิดตำแหน่งใหม่ทุกครั้งนั้นมีต้นทุนที่จะต้องจ่าย นั่นคือเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของประชาชน จึงต้องใคร่ครวญว่าการที่จะเติมเต็มความต้องการของคนเพียงหนึ่งคน แต่กลับต้องให้ประชาชนต้องมาแบกรับภาระโดยที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ขณะเดียวกันยังทำลายโครงสร้างและบั่นทอนการพัฒนาองค์กรในอนาคต หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง...