มติ ก.ตร.ยื้อแต่งตั้งตำรวจระดับรอง ผบก.ลงไป 4 พันตำแหน่ง ถึง 31 ม.ค.ปีหน้า พร้อมอนุมัติแต่งตั้งข้ามหน่วยงานได้ “พิชิต” ป่วนเสนอมติแทรกแย้งความเห็น ป.ป.ช. “พัชรวาท-สุชาติ-เพิ่มศักดิ์” ไม่ผิดสลายชุมนุม 7 ต.ค.ผลประชุมบ้าจี้เห็นชอบ ทำสมาชิกบางคนต้องเดินออก-งดออกเสียง
วันนี้ (30 ธ.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) เมื่อเวลา 14.30 น.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. เดินทางมาประชุม ก.ตร.ครั้งที่ 17 ที่อาคาร 1 ชั้น 2 พร้อมด้วย ก.ตร.ในตำแหน่งและ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยพร้อมเพรียงกัน โดยมีวาระที่สำคัญอาทิวาระ ที่ 4 เรื่องที่ 5 การแต่งตั้ง
พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ รรท.รอง ผบช.ก. เป็น รอง ผบช.ก.
เนื่องจากการแต่งตั้งครั้งที่ผ่านมา พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ มีคุณสมบัติไม่ครบหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง และเรื่องที่ 6 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึง รอง ผบก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม ก.ตร.ครั้งนี้ ใช้เวลานานถึง 3 ชั่วโมง ก่อนที่ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผช.ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุม ก.ตร.มีมติขยายเวลาการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับรอง ผบก.ลงไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค.2553 โดยมีตำแหน่งที่แต่งตั้งระดับ รอง ผบก.ที่ว่าง จำนวน 207 ตำแหน่ง ผกก.346 ตำแหน่ง ระดับรอง ผกก.422 ตำแหน่ง และระดับ สว.1,189 ตำแหน่ง ทั้งนี้ รวมมีตำแหน่งที่แต่งตั้งกว่า 4 ,000 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ มติ ก.ตร.ยังอนุมัติให้มีการแต่งตั้งข้ามหน่วยงานได้ เนื่องจากบางหน่วยนั้นยังขาดแคลนตำแหน่งสว.จำนวนมาก ทั้งนี้คำสั่งน่าจะเสร็จสิ้นพร้อมกันในวันที่ 20 ม.ค.2553 และให้มีผลพร้อมกันในวันที่ 16 ก.พ. ส่วนกรณีให้ยกเว้นหลักเกณฑ์กรณีดำรงไม่แหน่งไม่ครบ 2 ปี ให้สามารถโยกย้ายตำแหน่งได้นั้น เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าที่ประชุม ก.ตร.เพื่อให้อนุมัติ เนื่องจาก กรณีนี้เป็นอำนาจของ ผบ.ตร.ที่จะพิจารณา ตาม พ.ร.บ ตำรวจ 2547 โดยจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดำรงตำแหน่งไม่ครบ 2 ปีนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงเห็นตรงกันว่า จะอนุญาตในกรณีระดับ สารวัตรที่ได้รับผลกระทบในการแต่งตั้งตามโครงสร้างใหม่เท่านั้น
รายงานข่าวกล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการเลือนการแต่งตั้งโยกย้ายระดับรอง ผบก.-สว.ออกไป โดย พล.ต.อ.ปทีป ได้เสนอเรืองเข้าที่ประชุม โดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งในระดับนี้มีจำนวนมากจากการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับมีปัญหาเรือง สว.ที่มีตำแหน่งว่างเป็นจำนวนมากในแต่ละหน่วย ในแต่ละหน่วยมีตำแหน่งรอง สว.ไม่เพียงพอที่จะขึ้นในตำแหน่ง แล่ะช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ตำรวจต้องปฎิบัติหน้าที่อย่างต่อเนือง ไม่ควรมีการแต่งตั้งในช่วงนี้ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วย ให้เลื่อนการแต่งตั้งออกไปในวันที่ 31 ม.ค.2553 และให้คำสั่งมีผล วันที่ 16 ก.พ.2553
จากนั้นเป็นการพิจารณาเรื่องตำแหน่งรอง ผบช.ก.ของ พล.ต.ต.พงพัฒน์ ฉายาพันธุ์ รรท.รอง ผบช.ก. ซึ่งที่ประชุมมีมติยืนยันเห็นชอบในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรอง ผบช.ก. ส่วนที่การประชุมล่าช้า เนื่องจาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม ก.ตร.ครั้งนี้ ใช้เวลานานถึง 3 ชั่วโมง ก่อนที่ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผช.ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุม ก.ตร.มีมติขยายเวลาการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับรอง ผบก.ลงไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค.2553 โดยมีตำแหน่งที่แต่งตั้งระดับ รอง ผบก.ที่ว่าง จำนวน 207 ตำแหน่ง ผกก.346 ตำแหน่ง ระดับรอง ผกก.422 ตำแหน่ง และระดับ สว.1,189 ตำแหน่ง ทั้งนี้ รวมมีตำแหน่งที่แต่งตั้งกว่า 4 ,000 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ มติ ก.ตร.ยังอนุมัติให้มีการแต่งตั้งข้ามหน่วยงานได้ เนื่องจากบางหน่วยนั้นยังขาดแคลนตำแหน่งสว.จำนวนมาก ทั้งนี้คำสั่งน่าจะเสร็จสิ้นพร้อมกันในวันที่ 20 ม.ค.2553 และให้มีผลพร้อมกันในวันที่ 16 ก.พ. ส่วนกรณีให้ยกเว้นหลักเกณฑ์กรณีดำรงไม่แหน่งไม่ครบ 2 ปี ให้สามารถโยกย้ายตำแหน่งได้นั้น เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าที่ประชุม ก.ตร.เพื่อให้อนุมัติ เนื่องจาก กรณีนี้เป็นอำนาจของ ผบ.ตร.ที่จะพิจารณา ตาม พ.ร.บ ตำรวจ 2547 โดยจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดำรงตำแหน่งไม่ครบ 2 ปีนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงเห็นตรงกันว่า จะอนุญาตในกรณีระดับ สารวัตรที่ได้รับผลกระทบในการแต่งตั้งตามโครงสร้างใหม่เท่านั้น
รายงานข่าวกล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการเลือนการแต่งตั้งโยกย้ายระดับรอง ผบก.-สว.ออกไป โดย พล.ต.อ.ปทีป ได้เสนอเรืองเข้าที่ประชุม โดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งในระดับนี้มีจำนวนมากจากการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับมีปัญหาเรือง สว.ที่มีตำแหน่งว่างเป็นจำนวนมากในแต่ละหน่วย ในแต่ละหน่วยมีตำแหน่งรอง สว.ไม่เพียงพอที่จะขึ้นในตำแหน่ง แล่ะช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ตำรวจต้องปฎิบัติหน้าที่อย่างต่อเนือง ไม่ควรมีการแต่งตั้งในช่วงนี้ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วย ให้เลื่อนการแต่งตั้งออกไปในวันที่ 31 ม.ค.2553 และให้คำสั่งมีผล วันที่ 16 ก.พ.2553
จากนั้นเป็นการพิจารณาเรื่องตำแหน่งรอง ผบช.ก.ของ พล.ต.ต.พงพัฒน์ ฉายาพันธุ์ รรท.รอง ผบช.ก. ซึ่งที่ประชุมมีมติยืนยันเห็นชอบในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรอง ผบช.ก. ส่วนที่การประชุมล่าช้า เนื่องจาก
พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์ ก.ตร. ในฐานะประธานอนุฯ อุทธรณ์ ก.ตร.
ได้เสนอเรื่องให้ก.ตร.พิจารณาเห็นชอบว่า นายตำรวจ 3 นายไม่มีความผิด ประกอบด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผบก.จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเห็นว่าตำรวจทั้ง 3 นาย มีความผิดในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และเหตุการณ์การทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร ของกลุ่มนปช. ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี
รายงานข่าวกล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่า การมีความเห็นแย้งสามารถกระทำได้หรือไม่ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ว่า หน่วยงานรัฐต้องดำเนินการตามมติของ ป.ป.ช. ซึ่งมีการเสนอให้ส่งเรืองนี้ให้กฤษฎีกา ตีความ แต่เมื่อลงมติไปแล้ว ปรากฎว่าในที่ประชุมส่วนใหญ่มีมติไม่จำเป็นต้องส่งกฤษฎีกาตีความ แต่มีมติให้เห็นชอบตามคณะอนุฯ อุทธรณ์ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นปัญหาในอนาคต
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการลงมติเรื่องนี้ ก.ตร.บางท่านที่ไม่เห็นด้วยว่าควรมีมติเห็นแย้งกับคณะกรรมการปปช.ได้เดินออกจากห้องไปทันที ประกอบด้วย
รายงานข่าวกล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางว่า การมีความเห็นแย้งสามารถกระทำได้หรือไม่ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ว่า หน่วยงานรัฐต้องดำเนินการตามมติของ ป.ป.ช. ซึ่งมีการเสนอให้ส่งเรืองนี้ให้กฤษฎีกา ตีความ แต่เมื่อลงมติไปแล้ว ปรากฎว่าในที่ประชุมส่วนใหญ่มีมติไม่จำเป็นต้องส่งกฤษฎีกาตีความ แต่มีมติให้เห็นชอบตามคณะอนุฯ อุทธรณ์ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นปัญหาในอนาคต
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการลงมติเรื่องนี้ ก.ตร.บางท่านที่ไม่เห็นด้วยว่าควรมีมติเห็นแย้งกับคณะกรรมการปปช.ได้เดินออกจากห้องไปทันที ประกอบด้วย
-นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการ ก.พ.
-นายสมศักดิ์ บุญทอง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เดินออกจากห้องประชุมไปก่อนการลงมติ นอกจากนี้
-พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.ในฐานะ ก.ตร.โดยตำแหน่ง ก็เดินออกเช่นกัน โดยมี
-พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ก.ตร.โดยตำแหน่ง
งดออกเสียง