'คำรณวิทย์' สั่งย้าย 3 นายตำรวจ ช่วยราชการฝ่ายข่าว

31/10/56
ที่มา : เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ เมื่อ 31 ต.ค.2556

ผบช.น.สั่งย้าย 3 นายตำรวจ ญาติและลูกอดีตบิ๊ก ตร. "อัศวิน-วิชัย"ช่วยราชการฝ่ายข่าว กกล.รส. ระบุเหตุผล เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญาชาการตำรวจนครบาล มีหนังสือเรื่องข้าราชการตำรวจปฏิบัติราชการ ถึง ผบก.น.2, ผบก.น.6, ผบก.น.7 และ ผบก.อก.บช.น. ระบุว่าด้วย บช.น.มีเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะสั่งให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติการเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในสังกัด บช.น. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

ดังนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ม.74 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547, ระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดี หรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 และระเบียบ ตร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 จึงให้

1. พ.ต.อ.เอกชัย บุญวิสุทธิ์ รอง ผบก.น.7 (น้องภรรยา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รอง ผวจ.กทม.)

2. พ.ต.ท.สถิตย์ สังข์ประไพ รอง ผกก.สส.สน.สายไหม (น้องชาย พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ที่ปรึกษา ผวจ.กทม.)

3. ร.ต.อ.อัษฎาวุธ ขวัญเมือง รอง สว.กก.สส.บก.น.6 (ลูกชาย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ)


โดยให้ทั้ง 3 นายไปปฏิบัติราชการฝ่ายข่าว กกล.รส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึง 30 พ.ย. 56 หรือมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ให้เดินทางมารายงานตัวปฏิบัติหน้าที่ภายในวันที่ 31 ต.ค.56
Read more ...

ซื้อ-ขายเก้าอี้ตำรวจ ระบบราชการที่ล้มเหลวและความตายของ 'จ่าเพียร'

31/10/56
โดยหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 29 ตุลาคม 2556  มานะ มติธรรม

เมื่อถึงเดือนตุลาคม เรามักจะพบเห็นข่าวคราวการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ติดตามมาด้วยเรื่องราวการวิ่งเต้นซื้อขายเก้าอี้ แต่งตั้งเอาพรรคพวกตัวเองมาอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องเลวร้าย เป็นต้นทางไปสู่อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ เป็นบ่อเกิดของการคดโกง ทุจริตคอร์รัปชัน

แล้วจะปฏิรูปประเทศ, ปฏิรูปการเมืองไปหาหอกอะไร! ในเมื่อไม่เคยคิดสำรวจตวรจตราระบบราชการ การบริหารงานแผ่นดิน

การวิ่งเต้นหาตำแหน่ง โดยเฉพาะข้าราชการตำรวจนั้น มักจะได้ยินเรื่องฉาวโฉ่เน่าเหม็นอยู่เสมอ สำหรับองค์กรแห่งนี้ที่มีอาชีพอยู่ใกล้ชิดกับผลประโยชน์ ที่เป็นสิ่งชั่วร้ายผิดกฎหมาย แต่กลับไปคุ้มครองหากินกับสิ่งผิดกฎหมาย

เมื่ออาชีพถือปืนมีตำแหน่งกฎหมาย ปฏิบัติและใช้กฎหมายให้ถูกต้อง กลับไปคุ้มครองเอาทรัพย์สิน หากินกับสิ่งผิดกฎหมาย ถ้าหากใครมีพฤติกรรมเช่นนี้ เมื่อหาผลประโยชน์จากยาเสพติด ก็เหมือนค้าและสนับสนุน หาผลประโยชน์จากบ่อนการพนัน ซ่องประเวณี ก็เหมือนตั้งบ่อนซ่องเสียเอง

เลวร้ายและฉิบหาย ยิ่งกว่าโจรที่ฉกชิงวิ่งปล้นเสียอีก!ทุกปีของการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ข่าวการวิ่งเต้นซื้อขายเก้าอี้โผล่ออกมาเสมอ เพราะผลประโยชน์มีมากมาย จึงแก่งแย่งกัน และเรื่องบัดสีจึงปิดกันไม่มิด จนสังคมมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา

จริงๆ แล้วเรื่องที่มองเห็นเป็นธรรมดาอย่างนี้นี่แหละ ที่เป็นเรื่องอุบาทว์ เป็นตัวอย่างความเลวร้ายที่กัดกินบ่อนเซาะทำลายสังคมส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนและคนส่วนใหญ่

ข่าวการซื้อขาย จ่ายกันเก้าอี้ละ 20-30 ล้าน ถ้าปฏิเสธว่าไม่หาผลประโยชน์ ใครจะเชื่อ? ถึงขนาดทุ่มเงินซื้อขายกันราคาขนาดนี้

สิ่งที่ทำทางพฤติกรรม ล้วนแต่มีคำตอบ บ่งบอกทางพฤติ กรรมนั้นๆ เสมอ

สังเกตดูค้นหาคำตอบว่า เก้าอี้ตำแหน่งนี้ราคา 20 ล้าน ถ้าอยู่ในตำแหน่งนี้ถึงขนาดตำแหน่งสูงสุดเลยก็ได้ คำถามว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการ โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์อื่นใด มีเงินเดือนทุกเดือนรวมกันแล้วได้ครบ 20 ล้านบาท ที่เสียเงินซื้อไปหรือไม่?

คำตอบก็คือ ไม่ครบจำนวนเงินที่ซื้อไป คำตอบทางพฤติกรรมก็คือ การแสวงหาผลประโยชน์เข้ามาทดแทน

ถ้าไม่มีการซื้อขายเก้าอี้ ก็มีเงินเดือนมากพอเลี้ยงตัวเองและลูกเมียได้สบาย คงจะไม่มีพฤติกรรมให้สังคมสงสัยถามไถ่กันหรอก

แต่เมื่อซื้อกันไป พฤติกรรมก็เป็นคำตอบ ฟ้องให้เห็นชัดเจนว่าซื้อเพื่อปูทางไปแสวงหาบ่อเงินบ่อทอง ผลประโยชน์แห่งอบายมุข มีเงินหมุนเวียนวันหนึ่งๆ มากมาย หลายล้านบาท จัดการเก็บเกี่ยวตักตวงเสวยสุขในระยะที่อยู่ในตำแหน่งที่ซื้อมาให้สาสมใจ และเหลือเก็บใช้จ่ายสบายในบั้นปลายชีวิต

ทั้งผู้ซื้อและผู้รับที่เงินส่งผ่านมาเป็นทอดๆ ถึงมือตามลำดับเส้นสายนั้น ล้วนแต่เป็นตัวการก่อเรื่องอุบาทว์ ทำลายระบบราชการ ทำลายกฎกติกาความชอบธรรมในสังคม ส่งผลกระทบไปถึงคนส่วนใหญ่ที่ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ ต้องถูกปรับรีดไถ

คำตอบพฤติกรรมก็ชี้ให้เห็นว่า เงินที่นำมาซื้อก็เป็นเงินที่ได้มาโดยมิชอบ ซึ่งก็เอามาใช้ในทางมิชอบ การซื้อตำแหน่งก็เพื่อต่อยอดเงิน ไปหาตำแหน่งที่สูงขึ้น มีอำนาจมากขึ้น มีบ่อเงินบ่อทองใหญ่ขึ้น

ก็เหมือนเล่นจิ๊กซอว์ เอาเงินมาต่อเงิน หาแหล่งน้ำเลี้ยงจากบ่อเล็กไปยังบ่อใหญ่ หลับตาดูก็เห็นภาพ เอาเงินหลักสิบล้านปูทางไปหาแหล่งเงินหลักร้อยล้าน พันล้าน ที่มากขึ้นไปอีก

มีใครหน้าไหนล่ะ? ที่กล้าเอาเงิน 20-30 ล้าน ไปซื้อตำแหน่งโดยไม่คดโกงโกยกิน ไม่แสวงหาผลประโยชน์ เพียงเพื่อทำงานสนองพระคุณพี่น้องประชาชนเจ้าของประเทศอย่างซื่อสัตย์ แถมได้รับเงินเดือนกลับมารวมแล้วไม่ครบ ที่เสียไปเป็นสิบล้านบาทเหมือนทำงานให้ฟรีๆ ตลอดชีวิต เสียสละขนาดนั้น ถึงขนาดตัวเองและลูกเมียกินดินกินแกลบต่างข้าว!

ถ้าไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง เชื่อว่าข้าราชการที่ดีๆ มีตัวอย่างให้เห็นแน่นอน

การวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง ก็ส่อเจตนาถึงการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ มีตัวอย่างมากมายหลายหน่วยงานราชการ ที่พากันใช้ตำแหน่งหน้าที่ส่อไปในทางมิชอบ

ถ้าถึงคราวที่พวกเหล่านี้ตายโหงตายห่า! คงจะไม่ต้องเสียเวลากรวดน้ำอวยพรว่า ไปที่ชอบที่ชอบเถิด! เห็นทีคงต้องบอกว่า ไปในที่มิชอบมิชอบเถิด! อย่าได้ผุดได้เกิดอีกเลย!

การทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ โดยมิต้องคดโกงคอร์รัปชัน ทั้งๆ ที่มีเงินเดือนให้โดยไม่อดตาย ยังไม่มีความสำนึก และไม่เคยคิดเลยว่าสักวันหนึ่งต้องกลับไปสู่ความจริง ไปสู่ดิน ไปสู่ความว่างเปล่า ตำแหน่งถึงแม้จะใหญ่โตแค่ไหน ถึงยังไงก็มีร่างกายที่เล็กกว่าโลง

มีใครบ้างไหม? ที่อยากใหญ่กว่าโลง เวลาตายไปถึงยัดใส่โลงไม่เข้า!

เมื่อมีการซื้อขายเก้าอี้ สะท้อนให้เห็นถึงระบบราชการที่เหลวแหลก นอกจากเป็นการทำลายระบบราชการแล้ว ยังทำลายองค์กรนั้นๆ อีกด้วย ทำลายกำลังใจของข้าราชการดีๆ

บรรดานักการเมืองก็ล้วนแต่เป็นต้นเหตุของตัวอย่างการเกิดเรื่องเลวๆ อย่างนี้เสมอ

ยิ่งเห็นภาพนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกแล้วว่า เหลวแหลกฟอนเฟะแค่ไหน? เหมือนพูดออกมากลบเกลื่อนร่องรอยสกปรกนั้นว่า อยากเห็นการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างซื่อสัตย์ปราศจากการคอร์รัปชัน ไม่ซื้อขายตำแหน่งกันในองค์กรนี้ ไม่แสวงหาผลประโยชน์

และคนอย่าง ผบ.ตร.ก็ขานรับคำ พร้อมตักเตือนไม่แสวงหาผลประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวสิ่งผิดกฎหมาย ทำนองว่า "หากใครไม่ฟัง ขืนเล่อล่าเข้าไปหาผลประโยชน์ ผมจะซัดให้ตาย! อีกไม่นานผมก็กลับไปบ้านแล้ว ผมไม่กลัว ผมเอาระเบิดมากอดแล้ว ผมพร้อมจะพลีชีพยอมตายแล้ว ถ้าใครไม่ฟังผมจะเดินชก ปีที่แล้วผมดูแต่รูปมวย จึงไม่ได้ชก!" ว่าเข้าไปนั่น ขานรับคำถึงขนาดนั้น เพราะว่ากันอย่างนั้นจริงๆ

เมื่อภาพคนทั้ง 2 ปรากฏให้โอวาทซึ่งกันและกัน ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าหาผลประโยชน์กันเละเทะแค่ไหน! พี่น้องประชาชนก็รู้กันทั่วประเทศ เมื่อพูดและขานรับกันอย่างนี้ ก็เหมือนชวนกันมาเล่นปาหี่ให้พี่น้องประชาชนดูกันซ้ำแล้วซ้ำอีก เหมือนแลบลิ้นปลิ้นตาหลอก จนคร้านที่จะหัวเราะ

เก็บปากเก็บรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเอาไว้ให้เจ้าหม่ำ, เจ้า เท่ง, เจ้าโหน่ง, พวกโก๊ะตี๋ บนเวทียังดีกว่า เพราะพวกนั้นเขาเล่นตลกถึงอย่างไรก็ไม่หลอกลวง มุ่งให้ความสุขกับพี่น้องประชาชน!

เรื่องการซื้อขายตำแหน่งหรือวิ่งเต้นนั้น ไม่ใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานแล้วทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็มีเรื่องเหี้ยๆ อย่างนี้เกิดขึ้นเหมือนกัน ทำให้นึกถึงตำรวจที่ดี และสงสารตำรวจอย่าง "จ่าเพียร" มากขึ้น

เชื่อว่าประชาชนที่รักแผ่นดินและมีจิตใจที่เป็นธรรมที่ติดตามดูข่าวมาตลอด ย่อมจดจำภาพจ่าเพียรได้ติดตา แม้เวลาจะล่วงเลยมาขณะนี้ ทั้งในห้วงยามที่ภาพปรากฏขณะมีชีวิต และภาพที่ร่างไร้ชีวิต ย่อมจดจำภาพตำรวจที่น่าสงสารได้ติดตา เหมือนเพิ่งผ่านมาเมื่อวานนี้

มีแต่นักการเมืองและผู้บังคับบัญชาเหี้ยๆ เท่านั้นแหละ! ที่ไม่อยากจดจำ ในบาปกรรมที่ตนเองก่อขึ้น เชื่อหรือไม่ว่า? บาปกรรมนรกนั่นอาจจะมีจริง! ขนาดจ่าเพียรยังเชื่อว่าสักวันหนึ่งวาระสุดท้ายของตัวเองมาถึง มีค่าหัวเป็นแพะแค่ไม่กี่ตัว สิ่งที่จ่าเพียรเชื่อก็เป็นจริง!

แล้วบาปกรรมนรกนั้นมีจริงหรือไม่? ก็ขอให้ลองคิดทบทวนดู ถึงจะทำบุญมีหมูหมากาไก่บานเบอะเยอะแค่ไหน? ทำบุญไปทุกวันก็ไม่สามารถลบล้างความผิด ความฉิบหาย! ที่ก่อให้เกิดกับชีวิตคนอื่นในเมื่อมีส่วนก่อบาปกรรมติดตัวไว้ ล้างยังไงก็ไม่ออกเพราะมีส่วนทำให้จ่าเพียรตายไปแล้ว

เขียนมาถึงบรรทัดนี้ ผมรีบหยิบธูปขึ้นมาจุด ก้าวเดินออกมายืนหน้าบ้านกลางดึก เงยหน้ามองสวรรค์ กล่าวสักการะวิญญาณจ่าเพียรว่า

"ขอให้วิญญาณจ่าเพียร มีความสุขอยู่บนสรวงสวรรค์ อย่าพบความทุกข์ใดๆ ขอให้จ่าเพียรได้เกิดมาอีกในโลกใบนี้ เกิดมามีอำนาจวาสนาที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ถ้ารักเป็นตำรวจ ก็ขอให้เป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นข้าราชการตำรวจที่แสนดีของแผ่นดิน ของพระเจ้าอยู่หัว ของพี่น้องประชาชน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ ซื่อสัตย์ รักแผ่นดินและรักพี่น้องประชาชน ขอให้เกิดมาอย่างยิ่งใหญ่บนแผ่นดินไทย เพราะแผ่นดินแห่งนี้ รักและต้องการคนอย่างจ่าเพียร!"

ผมคุกเข่าปักธูปลงบนผืนแผ่นดิน พนมมือไหว้สักการะด้วยความสลดใจ ก่อนจะยืนขึ้นมองดูไฟลามเลียก้านธูปอยู่นิ่งและนาน ในระหว่างนั้นภาพจ่าเพียรใบหน้าเปื้อนน้ำตาและคำพูดที่พรั่งพรูออกมาอย่างอัดอั้นตันใจ และภาพร่างจ่าเพียรที่นอนนิ่งอยู่ในเปลขณะลำเลียงขึ้นเฮลิคอปเตอร์ วนเวียนสลับกันพล่านอยู่ในสมองของผม มองควันธูปล่องลอยจากก้าน ท่ามกลางแสงสลัวของดวงจันทร์ เหมือนควันนั้นม้วนตัวขึ้นสู่เบื้องบนสวรรค์อย่างรวดเร็ว!

ขณะเดียวกัน ผมยืนนิ่งข่มเปลือกตา ข่มใจด้วยความรู้สึกที่เจ็บปวดเศร้าใจกับชีวิตของจ่าเพียร และรู้สึกอเนจอนาถชิงชังระบบราชการที่เน่าเหม็นฟอนเฟะอยู่ในสังคมไทย!

ในห้วงยามขณะเวลานั้น ผมบอกกับตัวเองเพียงลำพังว่า พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ท่านเป็นคนดี เป็นนักสู้ผู้เสียสละ และเป็นศาสดาที่อยู่ในหัวใจ ควรแก่การนับถือและยกย่อง

จ่าเพียรจะเป็นอย่างไรในสายตาคนบางคน? ในสายตาของผมเชื่อว่าจ่าเพียรเป็นตำรวจที่ดี เพราะเติบโตมาจากชั้นประทวนก้าวสู่นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ไม่ใช่ได้มาอย่างธรรมดา หากแต่ได้มาเพราะการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญและเสียสละ สู้รบเสี่ยงภัยอยู่ในพื้นที่อันตรายมาโดยตลอด ด้วยกิตติศัพท์ชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่

ครั้งที่บาดเจ็บจากการปะทะ ขณะนอนรักษาอยู่โรงพยาบาลมีนายทหารผู้ใหญ่มาเยี่ยม ถึงกับบอกว่า "ถ้าลื้อเป็นทหารป่านนี้ก็สบายไปนานแล้ว!"

นั่นเหมือนตอกย้ำให้เห็นว่า กรมปทุมวันเลอะเทอะและเละเทะสิ้นดี!

บั้นปลายชีวิตราชการก่อนเกษียณของท่านผู้กำกับสมเพียรนั้น ขอย้ายไปรับตำแหน่งหน้าที่ในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งไม่มีผลประโยชน์อะไรใหญ่โต ไม่ใช่พื้นที่บ่อเงินบ่อทองอย่าง สภ.กันตัง ที่ จ.ตรังนั้น

นั่นแสดงให้เห็นว่า จ่าเพียรต้องการเพียงแค่ทำงานอย่างมีความสุขเพียงเล็กๆ น้อยๆ ในพื้นที่แห่งนี้ อยู่ห่างจากพื้นที่เสี่ยงภัยและไม่ต้องพะวักพะวงและพอจะหายเหน็ดเหนื่อย หลังเสี่ยงตายอยู่ในพื้นที่มาตลอดชีวิต และพื้นที่แห่งใหม่ เป็นการอยู่อย่างมีความสุขสมถะกับครอบครัว และย่อมมีความผูกพันทางใจอยู่กับสถานที่แห่งใหม่นี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจในบั้นปลายสุดท้ายของชีวิตราชการ

แต่คำร้องขอแค่นี้ไม่ได้รับการตอบสนอง นั่นเป็นเพราะระบบราชการไทยอยู่ในกำมือของผู้มีอำนาจเหนือกว่า พร้อมที่จะชี้นิ้วเสกสรรปั้นแต่งให้ใครมาอยู่ในตำแหน่งไหนก็ได้ หากมีปัจจัยทรัพย์สินเงินทองมาแลกได้เพียงพอ ระบบราชการจึงเลอะเทอะและสกปรกยิ่งขึ้น

การคิดจะปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการเมือง คิดปฏิรูปให้ตาย! ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าหากระบบราชการยังอุบาทว์และเลอะเทอะกันอยู่อย่างนี้!

ภาพจ่าเพียรใบหน้านองน้ำตาในวันที่มาพบผู้บังคับบัญชาถึงกองบัญชาการ ถึงตึกทำเนียบรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร เพื่อร้องขอไปยังพื้นที่ที่ต้องการนั้น

เชื่อว่าหยาดน้ำตาที่หลั่งรินนั้น ไม่ใช่น้ำตาแห่งความอ่อนแอ ไม่ได้ไหลออกมาอย่างท้อแท้ สำหรับลูกผู้ชายที่มีจิตใจเข้มแข็งมาตลอดชีวิตอย่างจ่าเพียร

หากแต่เป็นน้ำตาแห่งความเศร้าใจ ที่หลั่งรินออกมาด้วยความผิดหวัง สงสารตัวเองและลูกเมียเกินกว่าจะอดกลั้นไว้ได้! ทั้งๆ ที่เหน็ดเหนื่อยเสี่ยงตายมาตลอดชีวิต!

น้ำตาจ่าเพียรจึงไม่ได้หลั่งรินออกมาด้วยความอ่อนแอ หากแต่ยังเป็นหยาดน้ำตาที่ส่งสัญญาณบอกถึงสิ่งมีค่าอย่างมหาศาล ถ้าคิดและมองกันให้ลึก จะพบว่าหยาดน้ำตาหยดนั้น กำลังร้องเรียกหาสิ่งที่มีค่าอย่างล้นเหลือ สำหรับสังคมไทยที่ควรจะมี!

นั่นก็คือ คุณธรรมและความดี มันอยู่ที่ไหน?มีอยู่บ้างไหม? ในหัวจิตหัวใจนักการเมือง และผู้บังคับบัญชา สันดานชั่ว! หรือในหัวใจมีแต่เรื่องระยำตำบอน! จนสายตามืดบอด ยากจะมองเห็นสิ่งใด!

น้ำตาจ่าเพียร เป็นคำตอบให้เห็นถึงระบบราชการไทย ที่สกปรกเล่นพรรคเล่นพวก!

น้ำตาจ่าเพียร เป็นคำตอบให้เห็นถึงข้าราชการที่แสนดี พูดไปผู้มีอำนาจก็ไม่ได้ยินไม่ได้ยล ไม่ต่างไปจากเสียงนกเสียงกา

ยิ่งกว่านั้นน้ำตาจ่าเพียรก็สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ในดินแดนชนบทห่างไกล เมื่อผู้บริหารประเทศปราศจากการใส่ใจ พี่น้องประชาชนก็เหมือนหมา หมู ฝูงนก ฝูงกา

เพราะเหตุนี้เอง เราจึงพบเห็นการเกิดขึ้นของคนกล้า ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน นักต่อสู้ผู้เสียสละลุกขึ้นมาทำหน้าที่แทนเสียงนกเสียงกาเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดแคลนให้กับพี่น้องประชาชนเหล่านั้น

กรณีความตายของจ่าเพียรนั้น ถ้าคิดและมองให้ลึกจะพบเห็นสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ เป็นสัญญาณจากโจรใต้ว่าพยายามจะบอกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสื่อมายังเจ้าหน้าที่ข้าราชการไทย

การตายของจ่าเพียรจากโจรใต้ มิใช่น้ำหนักแค่ท้าทายอำนาจรัฐ ในเมื่อรัฐไม่สนใจใยดีชีวิตลูกน้อง

ถ้ามองและคิดให้ลึก จะพบเงื่อนปมที่ชวนสงสัยว่าการตายนั้นเป็นการตายในเชิงสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

หากจะมองว่า จ่าเพียรเสียชีวิตเหมือนเหตุการณ์ที่หลายคนทั่วไปประสบมา ความตายของจ่าเพียรก็คงมาจากเหตุการณ์ธรรมดาเหล่านั้นเมื่อมองเป็นเรื่องธรรมดา ก็กลายเป็นความตายธรรมดา

การอ่านเหตุการณ์ไม่ออก มองไม่ทะลุ นั่น เป็นเพราะไม่รู้จักการคิดกันให้ลึกๆ

เมื่อพิจารณาความตายของจ่าเพียร เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงสิ่งใด? จากโจรใต้

มองย้อนกลับไปดูเหตุการณ์กันใหม่ เมื่อครั้งจ่าเพียรมาร้องขอโยกย้ายไปยังพื้นที่ที่ต้องการนั้น ภาพและเรื่องราวจ่าเพียรแพร่ทางสื่อมวลชน ย่อมเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปและกลุ่มโจรใต้ย่อมรับรู้เช่นกัน

ขณะภาพข่าวจ่าเพียรปรากฏก็พบว่าเวลาเดียวกันมีเรื่องราวการวิ่งเต้นเล่นเส้นเล่นสาย ซื้อขายเก้าอี้ตำแหน่งต่างๆ และกีดกันพื้นที่ของจ่าเพียรที่หวังจะไปรับราชการในพื้นที่นั้นปรากฏอยู่ด้วยตลอด จนข่าวเรื่องราวของผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาความดีความชอบปรากฏเป็นข่าวอยู่ในคราวเดียวกันทั้งหมด

สรุปก็คือ เป็นเหตุการณ์เรื่องราวของระบบราชการเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งในองค์กรแห่งนี้ทั้งหมดที่เป็นไปอย่างไม่ชอบมาพากล

ขณะปรากฏข่าวนั้น จ่าเพียรบอกว่าตนเองมีค่าหัว ก็เหมือนยิ่งตอกย้ำให้ตกเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับการถูกสังหารมากยิ่งขึ้น ใช่หรือไม่?

เมื่อคำร้องขอของจ่าเพียรถูกปฏิเสธ ก็เหมือนการ "ผลัก" จ่าเพียรให้ตกลงไปใน "บ่อ" จ่าเพียรก็กลับไปสู่วังวนพื้นที่เดิม

"การขุดบ่อย่อมเจอน้ำ" เช่นเดียวกับการตกเป็นเหยื่อ เป้าหมายย่อมถูกค้นพบในพื้นที่นั้นๆ

ชีวิตและลมหายใจของจ่าเพียร จึงตกอยู่ในบ่อที่มีขอบเขตเพียงเฉพาะพื้นที่ที่จ่าเพียรปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้น ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา

จ่าเพียรกลายเป็นเหยื่อของทั้งสองฝ่าย เป็นเหยื่อของระบบราชการที่ชั่วช้าสามานย์ เหยื่อของความเหลวแหลกของระบบราชการไทย และเป็นเหยื่อที่มีค่าหัวของอีกฝ่ายหนึ่ง

และความจริงปรากฏว่า หลังจากข่าวเหตุการณ์จ่าเพียรปรากฏไม่นานนัก ก็พบจุดจบทันที

จ่าเพียรเป็นตำรวจที่ดี มีผลงานปฏิบัติหน้าที่ประจักษ์ชัดเจนให้เห็นอยู่และอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมานาน ถ้าระบบระเบียบราชการดี โยกย้ายแต่งตั้งด้วยจิตใจที่มีคุณธรรม จ่าเพียรน่าจะได้รับการพิจารณาความดีความชอบ

ถ้าหากคำร้องขอได้รับการตอบสนองรวดเร็ว จ่าเพียรก็ไม่ตายใช่หรือไม่?

พิจารณาดูว่า ถ้าจ่าเพียรถึงคราวเคราะห์อย่างบังเอิญ ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องบังเอิญ และอยู่รอดในพื้นที่มานานนับสิบปี สิ่งที่บ่งบอกว่าไม่ใช่เหตุน่าบังเอิญที่ชวนให้ขบคิดก็คือ การปรากฏข่าวเหตุการณ์และเรื่องค่าหัวจากกลุ่มโจรใต้ เพียงไม่นานก็พบจุดจบ

ถ้าวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวให้ลุ่มลึก มองอ่านเกมออกย่อมจะพบว่า จากเหตุเรื่องราวที่ปรากฏออกไปนั้น จะทำให้จ่าเพียรยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายมากยิ่งขึ้น ได้แต่พร่ำคำภาวนาขอให้จ่าเพียรอยู่รอดปลอดภัย จนผ่านพ้นภาระหน้าที่ชีวิตราชการไปด้วยดี

แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ และไม่น่าจะเกิดจากคราวเคราะห์อย่างบังเอิญ หากมองลึกๆ จะพบเห็นมุมมองและข้อเท็จจริงต่างกันและจะพบความจริงในด้านหนึ่งว่า จ่าเพียรย่อมตกเป็นเป้าถูกไล่ล่าอยู่ทุกขณะ เพราะทางกลุ่มโจรใต้ย่อมมีความตั้งใจมากยิ่งขึ้น ต่อการจงใจสังหารจ่าเพียรตำรวจที่ดีและน่าสงสาร ที่ตกอยู่ในสถานะเหยื่อของทั้งสองฝ่าย

ด้วยเหตุนี้ จึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นเหตุคราวเคราะห์อย่างบังเอิญ หากแต่เป็นการจงใจสังหาร เพราะเป้าหมายหนึ่งในนั้นก็คือ จ่าเพียร

การสังหารจ่าเพียร เป็นเรื่องอำมหิตใจคอทมิฬหินชาติ! จ่าเพียรรอดมาทุกครั้งน่าจะปล่อยให้จ่าเพียรรอดไปในวาระสุดท้ายหากจะถือเป็นศัตรู น่าจะปล่อยให้เป็นศัตรูที่อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เพราะวันเวลากระชั้นชิดใกล้เข้ามา อีกไม่นานจ่าเพียรก็อำลาชีวิตราชการไปแล้ว

จ่าเพียรจึงไม่ต่างอะไรไปจากสัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวของระบบราชการ ที่ผูกผลักดันขับไล่ไสส่ง!

ความตายของจ่าเพียรบอกถึงเหตุสิ่งใด? จากกลุ่มโจรใต้นั่นก็คือ เป็นคำตอบประจานและเย้ยหยันถึงความล้มเหลวของระบบราชการไทย เป็นระบบราชการที่เฮงซวย! ไม่มีน้ำยาอะไรดีและวิเศษ แย่งกันไขว่คว้าหาอำนาจผลประโยชน์และเงินเท่านั้น

ความตายของข้าราชการคนดีคนหนึ่ง ก็คือคำตอบจากกลุ่มโจรใต้ที่ประจานเย้ยหยัน ชี้ให้เห็นว่า ระบบราชการที่ดีๆ ของไทยนั้นไม่มี ถ้าจะมีก็ล้มหายตายจากไปแล้ว!.
Read more ...

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 205 นายพลตำรวจ

31/10/56
โดยผู้จัดการ เมื่อ 28 ต.ค.2556

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 205 นายพลตำรวจ ผบก.-ผบช.“จิตติ รอดบางยาง” นั่งเก้าอี้ รอง ผบช.น. “กรเอก” เป็น รอง ผบช.ภ.1 “ชาติชาย เอี่ยมแสง” เป็น ผบก.ตรวจคนเข้าเมือง 4 “ยงเกียรติ มนปราณีต” เป็น ผบก.ฝึกพิเศษ ตชด.

วันนี้ (28 ต.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 130 ตอนพิเศษ 146ง ลงวันที่ 28 ตุลาคม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ 205 นาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป

สำหรับรายชื่อที่ได้รับการแต่งตั้งนี้เป็นระดับตำแหน่ง ผู้บังคับการ (ผบก.) ไปจนถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) อาทิ พล.ต.ต.จิตติ รอดบางยาง รองจเรตำรวจ (สบ7) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.กรเอก เพชรไชยเวส ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา เป็น รอง ผบช.ภ.1 พ.ต.อ.ชาติชาย เอี่ยมแสง รอง ผบก.สืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็น ผบก.ตรวจคนเข้าเมือง 4 พ.ต.อ.ยงเกียรติ มนปราณีต รองผูับังคับการตำรวจท่องเที่ยว เป็น ผบก.ฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

-----------------------------

ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์รายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2556 สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(สลค.) ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ว่ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งในระดับต่างๆ จำนวน 205 ตำแหน่ง

ดังนี้

๑. พลตำรวจตรี จิตติ รอดบางยาง รองจเรตำรวจ (สบ ๗) ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาล

๒. พลตำรวจตรี ชยุต ธนทวีรัชต์ รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๑ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

๓. พลตำรวจตรี ชาญเทพ เสสะเวช รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

๔. พลตำรวจตรี เดชา บุตรน้ำเพชร รองจเรตำรวจ (สบ ๗) ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจสอบสวนกลาง

๕. พลตำรวจตรี ธณัท วงศ์สุวรรณ รองผู้บัญชาการ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ดำรงตำแหน่ง

๖. พลตำรวจตรี ธเนตร์ พิณเมืองงาม รองผู้บัญชาการ สำนักงานกำลังพล ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๒

๗. พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ ทำดี รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๓ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

๘. พลตำรวจตรี มนู เมฆหมอก รองผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๗

๙. พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๖ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๗

๑๐. พลตำรวจตรี วรวิทย์ ลิปิพันธ์ รองผู้บัญชาการ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๑๑. พลตำรวจตรี วิสนุ ปราสาททองโอสถ รองผู้บัญชาการ สำนักงานกำลังพล ดำรงตำแหน่งรองจเรตำรวจ (สบ ๗)

๑๒. พลตำรวจตรี วีรพงษ์ ชื่นภักดี รองผู้บัญชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๔

๑๓. พลตำรวจตรี ศุภกิจ ศรีจันทรนนท์ รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๑ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

๑๔. พลตำรวจตรี สรรพวุฒิ พิพัฒพันธุ์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ที่ปรึกษาด้านการข่าว)

๑๕. พลตำรวจตรี สัญชัย สุนทรบุระ รองผู้บัญชาการ สำนักงานงบประมาณและการเงินดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานส่งกำลังบำรุง

๑๖. พลตำรวจตรี สุกิจ โคอินทรางกูร รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

๑๗. พลตำรวจตรี กรเอก เพชรไชยเวส ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๑

๑๘. พลตำรวจตรี กิตติพงษ์ เงามุข ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๒ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๒

๑๙. พลตำรวจตรี ขจรศักดิ์ ปานสาคร ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๓ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

๒๐. พลตำรวจตรี จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก ดำรงตำแหน่งรองจเรตำรวจ (สบ ๗)

๒๑. พลตำรวจตรี จำลอง น้อมเศียร ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๕ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๕

๒๒. พลตำรวจตรี เจริญวิทย์ ศรีวนิชย์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๔

๒๓. พลตำรวจตรี เฉลิมพันธุ์ อจลบุญ ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๕ ดำรงตำแหน่งรองจเรตำรวจ (สบ ๗)

๒๔. พลตำรวจตรี ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๙ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

๒๕. พลตำรวจตรี ชวลิต ชาญเวชช์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๖ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๖

๒๖. พลตำรวจตรี ชวลิต แสวงพืชน์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๙

๒๗. พลตำ รวจตรี ชาญ วิมลศรี ผู้บังคับการตำ รวจนครบาล ๗ ดำ รงตำ แหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานกำลังพล

๒๘. พลตำรวจตรี ชินภัทร สารสิน ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๓ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

๒๙. พลตำรวจตรี โชต วีรเดชกำแหง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๗ ดำรงตำแหน่งรองจเรตำรวจ (สบ ๗)

๓๐. พลตำรวจตรี ฐณพล มณีภาค ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๒ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๒

๓๑. พลตำรวจตรี ติณภัทร ภุมรินทร์ ผู้บังคับการ กองตรวจสอบภายใน ๒ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานงบประมาณและการเงิน

๓๒. พลตำรวจตรี ทรงชัย สิมะโรจน์ นายแพทย์ (สบ ๖) โรงพยาบาลตำรวจ (ทำหน้าที่นักวิชาการทางการแพทย์สาขาอายุรศาสตร์) ดำรงตำแหน่ง รองนายแพทย์ใหญ่ (สบ ๗)

๓๓. พลตำรวจตรี ทวิชชาติ พละศักดิ์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๑ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๑

๓๔. พลตำรวจตรี ธน ยุติธรรมดำรง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๒ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานกฎหมายและคดี

๓๕. พลตำรวจตรี นิทัศน์ ลิ้มศิริพันธ์ ผู้บังคับการ กองทะเบียนพล ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานกำลังพล

๓๖. พลตำรวจตรี นิพนธ์ เจริญผล ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

๓๗. พลตำรวจตรี ประพันธ์ จันทร์เอม ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

๓๘. พลตำรวจตรี ประยุทธ ชวนะวงศ์ ผู้บังคับการ กองตำรวจสื่อสาร ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๓๙. พลตำรวจตรี ปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตราด ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๑

๔๐. พลตำรวจตรี พงษ์วุฒิ พงษ์ศรี ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๓

๔๑. พลตำรวจตรี เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานจเรตำรวจ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

๔๒. พลตำรวจตรี เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๔

๔๓. พลตำรวจตรี ภาคภูมิ สัจจพันธุ์ ผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

๔๔. พลตำรวจตรี มโนช ตันตระเธียร ผู้บังคับการ กองการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล

๔๕. พลตำรวจตรี รณพงษ์ ทรายแก้ว ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราชดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๘

๔๖. พลตำรวจตรี รณศิลป์ ภู่สาระ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๗

๔๗. พลตำรวจตรี รอย อิงคไพโรจน์ ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

๔๘. พลตำรวจตรี รัฐพงษ์ ยิ้มใหญ่ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้

๔๙. พลตำรวจตรี วรภัทร์ วัฒนวิศาล ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๗ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ สำนักงานกฎหมายและคดี

๕๐. พลตำรวจตรี วันชาติ คำเครือคง ผู้บังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

๕๑. พลตำรวจตรี วิเชียร ตันตะวิริยะ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

๕๒. พลตำรวจตรี วีรสิทธิ์ เพ็ชรคล้าย ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๙ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๙

๕๓. พลตำรวจตรี ศรายุทธ พูลธัญญะ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานส่งกำลังบำรุงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานส่งกำลังบำรุง

๕๔. พลตำรวจตรี ศานิตย์ มหถาวร ผู้บังคับการ กองร้องทุกข์ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

๕๕. พลตำรวจตรี สมพงษ์ ชิงดวง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๕

๕๖. พลตำรวจตรี สาคร ทองมุณี ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตรัง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้

๕๗. พลตำรวจตรี สุรพล แก้วขาว ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๓

๕๘. พลตำรวจตรี สุรพล ศรีวงศ์ ผู้บังคับการปกครอง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

๕๙. พลตำรวจตรี สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๓ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

๖๐. พลตำรวจตรี อนุรักษ์ แตงเกษม ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ๖

๖๑. พลตำรวจตรี อรรณพ ปิ่นแจ้ง ผู้บังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

๖๒. พลตำรวจตรี อาชวันต์ โชติกเสถียร ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๔ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

๖๓. พลตำรวจตรี กริช กิติลือ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

๖๔. พลตำรวจตรี กิติศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผู้บังคับการ กองโยธาธิการ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

๖๕. พลตำรวจตรี จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผู้บังคับการ ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ทำหน้าที่ประสานงานนโยบายกับนายกรัฐมนตรี) ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจจราจร

๖๖. พลตำรวจตรี จีรวัฒน์ อุดมสุด ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๙ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตรัง

๖๗. พลตำรวจตรี ชฎิล พรหมไพบูลย์ ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๖ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก

๖๘. พลตำรวจตรี ชอบ คิสาลัง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองบัวลำภู ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น

๖๙. พลตำรวจตรี ชาติชาย แตงเอี่ยม ผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจสันติบาลดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๗๐. พลตำรวจตรี ชูรัตน์ ปานเหง้า ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๔

๗๑. พลตำรวจตรี เชิดชาย เสขะนันทน์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา

๗๒. พลตำรวจตรี ไชยยา รุจจนเวท ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๑ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๒

๗๓. พลตำรวจตรี เถกิงพงษ์ วังแก้ว ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๑ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ประจำสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

๗๔. พลตำรวจตรี ทนัย อภิชาติเสนีย์ ผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด

๗๕. พลตำรวจตรี ทรงเกียรติ วาทะกุล ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา

๗๖. พลตำรวจตรี ธนา ชูวงศ์ ผู้บังคับการ กองสารนิเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก

๗๗. พลตำรวจตรี ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๘ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๒

๗๘. พลตำรวจตรี นรศักดิ์ เหมนิธิ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

๗๙. พลตำรวจตรี นิติพงศ์ เนียมน้อย ผู้บังคับการ ประจำสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๑

๘๐. พลตำรวจตรี นุชิต ศรีสมพงษ์ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๔ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

๘๑. พลตำรวจตรี ปฏิเวธ จุลินทร ผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

๘๒. พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ ผู้บังคับการ กองคดีอาญา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองกฎหมาย

๘๓. พลตำรวจตรี ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๗

๘๔. พลตำรวจตรี พงษ์สักก์ เชื้อสมบูรณ์ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๕

๘๕. พลตำรวจตรี พจน์ วิญญาวงค์ ผู้บังคับการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลางดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี

๘๖. พลตำรวจตรี พชร บุญญสิทธิ์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช

๘๗. พลตำรวจตรี พัฒนวุธ อังคะนาวิน ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส

๘๘. พลตำรวจตรี พิสิฐ ตันประเสริฐ เลขานุการตำรวจแห่งชาติ (สบ ๖) ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองทะเบียนพล

๘๙. พลตำรวจตรี พีระ บุญเลี้ยง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๙

๙๐. พลตำรวจตรี ไพบูลย์ คงกิตติโสภี ผู้บังคับการอำนวยการ โรงพยาบาลตำรวจ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองมาตรฐานวินัย

๙๑. พลตำรวจตรี มนธน ทิพย์จันทร์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์

๙๒. พลตำรวจตรี วราวุธ ทวีชัยการ ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

๙๓. พลตำรวจตรี วิชัย เกษมวงศ์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้

๙๔. พลตำรวจตรี วิทวัส บูรณสมภพ ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๔ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร

๙๕. พลตำรวจตรี วิศิษฐ์ ศุกรเสพย์ ผู้บังคับการ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดระนอง

๙๖. พลตำรวจตรี วีระชัย วิสุทธิอุทัยกุล ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๒ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี

๙๗. พลตำรวจตรี วีระพล สกุลมีฤทธิ์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงครามดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๗

๙๘. พลตำรวจตรี ศักดิ์สมหมาย พุทธกูล ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล

๙๙. พลตำรวจตรี สมบัติ บัวเรือง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๒

๑๐๐. พลตำรวจตรี สมพงษ์ เตชะสมบูรณ์ ผู้บังคับการ สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม

๑๐๑. พลตำรวจตรี สมหมาย กาญจนาภา ผู้บังคับการ สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ วิทยาลัยการตำรวจ

๑๐๒. พลตำรวจตรี สุทธินาท สุดยอด ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๔ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร

๑๐๓. พลตำรวจตรี สุรชัย ควรเดชะคุปต์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๓

๑๐๔. พลตำรวจตรี สุรนิตย์ พรหมบุตร ผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาลดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๒

๑๐๕. พลตำรวจตรี สุรศักดิ์ รมยานนท์ ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๙ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง

๑๐๖. พลตำรวจตรี เสรี สามดาว ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๓ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๒

๑๐๗. พลตำรวจตรี องอาจ ผิวเรืองนนท์ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต

๑๐๘. พลตำรวจตรี อนันต์ มีเคราะห์ดี ผู้บังคับการ กองมาตรฐานวินัย ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองร้องทุกข์

๑๐๙. พลตำรวจตรี อภิชาติ เพชรประสิทธิ์ ผู้บังคับการ กองสวัสดิการ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี

๑๑๐. พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ จิตรพันธุ์ ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๕ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่

๑๑๑. พลตำรวจตรี เอกภพ ประสิทธิ์วัฒนชัย ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา

๑๑๒. พลตำรวจตรี เอิบ คงกล่ำ ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๔

๑๑๓. พันตำรวจเอก กฤษณะ ทรัพย์เดช รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๗ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี

๑๑๔. พันตำรวจเอก กิจพิณิฐ อุสาโห รองผู้บังคับการ สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพ

๑๑๕. พันตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการตำรวจแห่งชาติ (สบ ๖)

๑๑๖. พันตำรวจเอกหญิง ขวัญตา เจษฎานนท์ รองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

๑๑๗. พันตำรวจเอก คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รองผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๓ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ประสานงานนโยบายกับนายกรัฐมนตรี)

๑๑๘. พันตำรวจเอก งามศักดิ์ เกื้อจรูญ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้

๑๑๙. พันตำรวจเอก จรวย ผลประเสริฐ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตรดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๖

๑๒๐. พันตำรวจเอก จรัณฐค์ วรพัฒนานันน์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน

๑๒๑. พันตำรวจเอก จิตรจรูญ ศรีวนิชย์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ดดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม

๑๒๒. พันตำรวจเอก จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๔ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร

๑๒๓. พันตำรวจเอก จิรวัฒน์ ทิพยจันทร์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๖

๑๒๔. พันตำรวจเอก ฉัตรชัย สุรเชษฐพงษ์ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑๒๕. พันตำรวจเอก เฉลิม สุวรรณรัตน์โอสถ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๖

๑๒๖. พันตำรวจเอก ชนะชัย ลิ้มประเสริฐ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองคดีอาญา

๑๒๗. พันตำรวจเอก ชัยญัติ สายถิ่น รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคามดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย

๑๒๘. พันตำรวจเอก ชัยเดช ปานรักษา รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์

๑๒๙. พันตำรวจเอก ชัยพร พานิชอัตรา รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่นดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ

๑๓๐. พันตำรวจเอก ชาติชาย เอี่ยมแสง รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๔

๑๓๑. พันตำรวจเอก ชุมพล ฉันทะจำรัสศิลป์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาครดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี

๑๓๒. พันตำรวจเอก เชษฐา โกมลวรรธนะ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดระยองดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๒

๑๓๓. พันตำรวจเอก โชค เหมือนเสน รองผู้บังคับการอำนวยการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

๑๓๔. พันตำรวจเอก ณรงค์ อิ่มลิ้มทาน รองผู้บังคับการ กองตรวจสอบภายใน ๓ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองตรวจสอบภายใน ๒

๑๓๕. พันตำรวจเอก ดำรัส วิริยะกุล รองผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๙ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๙

๑๓๖. พันตำรวจเอก ถนอม มะลิทอง รองผู้บังคับการปกครอง โรงเรียนนายร้อยตำรวจดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการปกครอง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

๑๓๗. พันตำรวจเอก ถิร์สทัต บูรณะรัช รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๘ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตราด

๑๓๘. พันตำรวจเอก ทนงศักดิ์ ทั่งทอง รองผู้บังคับการข่าวกรองยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๑

๑๓๙. พันตำรวจเอก ทวิพงศ์ พงษ์สูงเนิน รองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ๑ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ๓

๑๔๐. พันตำรวจเอก ทักษิณ พ่วงเงิน รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๙ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาล

๑๔๑. พันตำรวจเอก ธนพล บริบูรณ์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม

๑๔๒. พันตำรวจเอก ธวัชชัย เมฆประเสริฐสุข รองผู้บังคับการ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๑ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง

๑๔๓. พันตำรวจเอก ธวัชชัย ยิ่งเจริญสุข รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๑

๑๔๔. พันตำรวจเอก ธัชชัย ปิตะนีละบุตร รองศาสตราจารย์ (สบ ๕) กลุ่มงานคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๖

๑๔๕. พันตำรวจเอก ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลาดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๙

๑๔๖. พันตำรวจเอก ธิติ แสงสว่าง รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๓

๑๔๗. พันตำรวจเอก นพศักดิ์ ภูวัฒนเศรษฐ นายแพทย์ (สบ ๕) กลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลตำรวจ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ (สบ ๖) โรงพยาบาลตำรวจ (ทำหน้าที่นักวิชาการทางการแพทย์สาขาอายุรศาสตร์)

๑๔๘. พันตำรวจเอก นิธิพัฒน์ พัฒนถาบุตร์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพะเยาดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๕

๑๔๙. พันตำรวจเอก นิรันดร์ ดีมี รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๖

๑๕๐. พันตำรวจเอก ปรีชา สุนทรศิริ รองผู้บังคับการ กองทะเบียนประวัติอาชญากรดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๙

๑๕๑. พันตำรวจเอก ปิยะ สุขประเสริฐ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๗

๑๕๒. พันตำรวจเอก ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รองผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๓ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

๑๕๓. พันตำรวจเอก พงษ์เดช พรหมมิจิตร รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา

๑๕๔. พันตำรวจเอก พงษ์พันธุ์ วรรณภักตร์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

๑๕๕. พันตำรวจเอก พจน์ บุญมาภาคย์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด

๑๕๖. พันตำรวจเอก พรกุศล ยศธร รองผู้บังคับการ กองตำรวจสื่อสาร ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองตำรวจสื่อสาร

๑๕๗. พันตำรวจเอก พรชัย เจริญวงศ์ รองผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๓ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๔

๑๕๘. พันตำรวจเอก พันธุ์พงษ์ สุขศิริมัช รองผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองโยธาธิการ

๑๕๙. พันตำรวจเอก พีระพงศ์ วงษ์สมาน รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๒ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ

๑๖๐. พันตำรวจเอก พีระวัฒน์ บุญลักขะ รองผู้บังคับการ กองตำรวจสื่อสาร ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ประจำสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๑๖๑. พันตำรวจเอก โพธ สวยสุวรรณ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี

๑๖๒. พันตำรวจเอก ภัทราวุธ เอื้อมศศิธร รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ดดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๔

๑๖๓. พันตำรวจเอก ภาณุ บุรณศิริ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๓ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา

๑๖๔. พันตำรวจเอก ภาณุเดช บุญเรือง รองผู้บังคับการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ๓

๑๖๕. พันตำรวจเอก มนตรี จินดา รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์

๑๖๖. พันตำ รวจเอก มนตรี ยิ้มแย้ม รองผู้บังคับการ กองแผนงานอาชญากรรมดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี

๑๖๗. พันตำรวจเอก มาโนชญ์ สถิตพานิช รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๔

๑๖๘. พันตำรวจเอก ยงเกียรติ มนปราณีต รองผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

๑๖๙. พันตำรวจเอก ยงยุทธ กิจรักษา รองผู้บังคับการ กองพิสูจน์หลักฐานกลางดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

๑๗๐. พันตำรวจเอก ยิ่งยศ เทพจำนงค์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๔ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว

๑๗๑. พันตำรวจเอก รณกร ศุภสมุทร รองผู้บังคับการ กองสารนิเทศ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองสรรพาวุธ

๑๗๒. พันตำรวจเอก ระพีพงษ์ สุพรศรี รองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

๑๗๓. พันตำรวจเอก ราเชนทร์ ตุงคะเตชะ รองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๓ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๓

๑๗๔. พันตำรวจเอก วิชิต ปักษา รองผู้บังคับการอำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๔

๑๗๕. พันตำรวจเอก วิเชียร สวัสดิชัย รองผู้บังคับการ กองงบประมาณ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองงบประมาณ

๑๗๖. พันตำรวจเอก ศิรเมศร์ พันธุ์มณี รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรีดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ประจำตำรวจภูธรภาค ๗

๑๗๗. พันตำรวจเอก ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

๑๗๘. พันตำรวจเอก สมจิตร กาญจนสันเทียะ รองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๒ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑

๑๗๙. พันตำรวจเอก สมเดช วุฒิเสถียร รองผู้บังคับการ สำนักประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์บริการทางการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

๑๘๐. พันตำรวจเอก สมนึก บุรมิ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดระยอง

๑๘๑. พันตำรวจเอก สมศักดิ์ จิตติรัตน์ รองผู้บังคับการ กองกฎหมาย ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการ โรงพยาบาลตำรวจ

๑๘๒. พันตำรวจเอก สมศักดิ์ โอภาสเจริญกิจ รองผู้บังคับการตำรวจจราจร ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง

๑๘๓. พันตำรวจเอก สมสง่า ชรินทร์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอนดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

๑๘๔. พันตำรวจเอก สมัคร เสียงเลิศ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง

๑๘๕. พันตำรวจเอก สรไกร พูลเพิ่ม รองผู้บังคับการ ศูนย์พัฒนาด้านการข่าว กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ๔

๑๘๖. พันตำรวจเอก สาธิต เจริญพิภพ รองผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๒ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๒

๑๘๗. พันตำรวจเอก สุคุณ พรหมายน รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๓

๑๘๘. พันตำรวจเอก สุทัศน์ ชาญสวัสดิ์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราชดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๘

๑๘๙. พันตำรวจเอก สุนทร เฉลิมเกียรติ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค ๙ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน

๑๙๐. พันตำรวจเอก สุภาพ สินวิบูรณ์ นักบิน (สบ ๕) กลุ่มงานการบิน กองบินตำรวจดำรงตำแหน่ง นักบิน (สบ ๖) กองบินตำรวจ

๑๙๑. พันตำรวจเอก สุรพล เกษประยูร นายแพทย์ (สบ ๕) กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ (สบ ๖) โรงพยาบาลตำรวจ(ทำหน้าที่นักวิชาการทางการแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือเวชศาสตร์ครอบครัว งานศูนย์ส่งกลับงานผู้ป่วยนอกและโรงพยาบาลนวุฒิสมเด็จย่า)

๑๙๒. พันตำรวจเอก สุรศักดิ์ บุญกลาง รองผู้บังคับการ กองพลาธิการ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองพลาธิการ

๑๙๓. พันตำ รวจเอก เสริมคิด สิทธิชัยกานต์ รองผู้บังคับการตำ รวจนครบาล ๗ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๙๔. พันตำรวจเอก โสพรรณ ธนะโสธร รองผู้บังคับการ สถาบันส่งเสริมงานสอบสวนดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง

๑๙๕. พันตำรวจเอก องอาจ ชุณหะนันทน์ รองผู้บังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

๑๙๖. พันตำรวจเอก อดุลย์ รัตนภิรมย์ รองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล

๑๙๗. พันตำรวจเอก อนิกธัญญ์ ชยสุทธา รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๑ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ ๕

๑๙๘. พันตำรวจเอก อนุชา รมยะนันทน์ รองผู้บังคับการ กองยุทธศาสตร์ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองสารนิเทศ

๑๙๙. พันตำรวจเอก อนุศักดิ์ โกมลศาสตร์ รองผู้บังคับการ กองสวัสดิการ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานจเรตำรวจ

๒๐๐. พันตำรวจเอก อภิชัย ธิอามาตย์ รองผู้บังคับการปราบปราม ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว

๒๐๑. พันตำรวจเอก อภิชัย ศรีโสภิต รองศาสตราจารย์ (สบ ๕) กลุ่มงานคณาจารย์คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองสวัสดิการ

๒๐๒. พันตำ รวจเอก อภิชาติ สุริบุญญา รองผู้บังคับการ กองการต่างประเทศดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กองการต่างประเทศ

๒๐๓. พันตำรวจเอก อภิชิต เทียนเพิ่มพูล รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองบัวลำภู

๒๐๔. พันตำรวจเอก อิทธิพล อิทธิสารรณชัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานส่งกำลังบำรุง

๒๐๕. พันตำรวจเอก อุดม พรหมสุรินทร์ รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดลำปางดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ ศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค ๕

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี
Read more ...

ผกก.สน.โชคชัย ผกก.นักบริหาร

26/10/56
โดยสหบาท คอลัมน์ส่องตำรวจ ไทยรัฐ เมื่อ 26 ต.ค.2556

ตำรวจระดับ หัวหน้าโรงพัก ยุค พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็น ผบ.ตร.

ต้องทันสมัย มีภาวะผู้นำ จะทำอะไรต้องคิดถึงประชาชนเป็นอันดับแรก และมีโครงการพัฒนาหน่วยอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นมีสิทธิ์ถูกย้ายฟ้าผ่า

พ.ต.อ.ธนวัตร วัฒนกุล ผกก. สน.โชคชัย

เป็นอีก 1 นายตำรวจหัวหน้าโรงพักเมืองกรุงที่เพิ่งได้ รับรางวัลผู้บริหารแห่งปี จากนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี จัดโดยสมัชชานักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มาหมาดๆ

มีโอกาสคุยกัน เจ้าตัวบอกว่า สน.โชคชัย เป็นโรงพักใน บก.น.4 มีพื้นที่รับผิดชอบ 20.695 ตร.กม. ส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัย เพราะฉะนั้นปัญหาจึงมีหลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมและปัญหาจราจร

ในส่วนนี้ได้วางระบบงานป้องกัน ด้วยการเพิ่มช่องทางรับแจ้งเหตุ ผ่านสื่อสารสนเทศ เช่น ไลน์ และเฟซบุ๊ก รวมทั้งนำระบบกล้องซีซีทีวี เชื่อมต่อออนไลน์มาที่ศูนย์ปฏิบัติการใน สน. เพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ 

ตอนนี้สามารถควบคุมปัญหาอาชญากรรมจากจุดเสี่ยง เห็นได้จากสถิติโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ สน.โชคชัย ในช่วงเทศกาลหยุดยาวที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ

งานสืบสวน สามารถคลี่คลายคดีสำคัญในพื้นที่ เหตุอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นสามารถตามจับได้ทุกคดี เช่นเดียวกับงานจราจร มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรให้สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย เน้นการเป็น สุภาพบุรุษจราจร พร้อมให้บริการช่วยเหลือประชาชน โดยมีการฝึกอบรมอาสาสมัครศูนย์มนูธรรม เพื่อช่วยในงานสายตรวจและจราจรด้วย

ด้านงานบริการบนโรงพัก พ.ต.อ.ธนวัตร บอกว่า ความที่โรงพักเป็นหน้าด่านในการบริการประชาชน และเพื่อให้ตำรวจ สน.โชคชัย มีจิตสำนึกในการบริการประชาชนด้วยความสุภาพ ด้วยหัวใจ ลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติในลักษณะการบริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ให้ตรงตามความต้องการของประชาชน และรู้สึกว่ามาโรงพักเหมือนกับอยู่ที่บ้าน ให้ประชาชนที่มาติดต่อราชการพึงพอใจมากที่สุด

ได้จัดเชิญวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้แก่ตำรวจ อาทิ ดร.นฤมล โชติเวช ผู้บริหารด้านประชาสัมพันธ์โรงแรมโอเรียนเต็ล อ.ปุณฑรีย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผอ.สำนักวิจัย เอแบคโพล และ พ.ต.อ.เชิงรณ ริมผดี ผกก.อก.3 บก.อก.สตม. เพื่อให้ตำรวจโชคชัย เห็นถึงความสำคัญของการบริการประชาชน รวมทั้งศึกษาหาความรู้ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี 58

ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อนำไปสู่การเป็นตำรวจอาชีพ จิตบริการประชาชน.

สหบาท
Read more ...

ความแตกต่าง ตำรวจอเมริกา vs ตำรวจไทย

13/10/56
1. ไม่มีกรมตำรวจ ไม่มีแม้แต่ทบวงหรือกระทรวงตำรวจเหมือนประเทศอื่น จึงไม่มีสายการบังคับบัญชายุ่บยั่บเหมือนของไทย

2. ไม่มีโรงเรียนนายร้อยตำรวจ แต่ละเมืองคัดตำรวจกันเอง วิธีคัดก็ไม่เหมือนกัน คัดได้แล้วก็ส่งไปอบรมที่โรงเรียนตำรวจ 26 สัปดาห์ เป็นอันว่าจบหลักสูตรออกมาทำงานได้ ตำรวจอเมริกันจึงไม่มีการแบ่งว่า ฉันจบจากโรงเรียนนายร้อย อั๊วจบมหาวิทยาลัย ข้ามาจาก จปร. (จ่าเป็นนายร้อย)

3. ไม่มีอธิบดีกรมตำรวจ ที่หนังสือพิมพ์อเมริกันเรียก police chief นั้น อย่าไปแปลว่าอธิบดีกรมตำรวจนะครับ ไม่มีกรมจะทะลึ่งไปมีอธิบดีได้ยังไง ตำแหน่งนี้ ก็คือ หัวหน้าตำรวจของแต่ละเมือง อยู่ใต้บังคับบัญชาของนายกเทศมนตรีอีกที ตำรวจจึงต้องทำงานเอาใจนายกเล็ก นายกต้องลงแส้ให้ตำรวจทำงานให้มีประสิทธิภาพ กลัวว่าครั้งหน้าจะไม่มีใครเลือก เมืองไทยน่าจะทดลองให้ตำรวจนครบาลขึ้นกับผู้ว่าฯ กทม.ดูบ้าง อาจจะแก้ปัญหาตำรวจได้

4. ตำรวจอเมริกันไม่มียศชั้นนายพัน สูงสุดเป็นแค่นายร้อย สูงกว่านั้นใช้นาย คุณอาจจะต้องสงสัยว่าถ้าอย่างนั้นจะสั่งงานกันอย่างไรก็ว่ากันไปตามตำแหน่ง ตำรวจไม่มียศก็ดีไปอย่าง ไม่มีความรู้สึกว่า เป็นเจ้าขุนมูลนาย ในบ้านเรา บางคนอาจจะไม่อยากเป็นตำรวจ แต่อยากมียศ ไม่รักอาชีพ ไม่รักงาน แต่รักยศ เหตุผลที่เข้ามาเป็นตำรวจ ของตำรวจบางนาย ฟังแล้วอยากร้องไห้...คุณแม่อยากให้รับราชการเป็นตำรวจ เพื่อเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูล

5. ตำรวจอเมริกันไม่มีการโยกย้ายไปเมืองนั้นเมืองนี้ เริ่มต้นเป็นตำรวจเมืองไหนก็ต้องอยู่ที่นั่นไปตลอด ตำรวจแต่ละคนจึงต้องรักษาประวัติตัวเอง เหม็นเมื่อไรหมดโอกาสสร้างอนาคตใหม่ ในสหรัฐฯไม่มีจังหวัดเหมือนบ้านเรา มีเพียง city กับ town ซิตี้ คือ เมืองใหญ่ ทาวน์เป็นเมืองเล็ก ทาวน์บางแห่งมีคนไม่กี่พัน จ่าวัตสันตบทรัพย์น้าแมรี่ รู้กันเพียงชั่วข้ามคืน ใครเหม็นก็ต้องออก ตำรวจเน่าจากหาดใหญ่ ไปสดใสที่ขอนแก่น อย่างนี้ไม่มีในอเมริกาครับ

6. ตำรวจอเมริกันไม่ต้องวิ่งเต้นโยกย้ายเหมือนตำรวจบาง ประเทศ ที่เสียสตางค์กันทีหนึ่งเป็นแสนๆ บาท เสียแล้วก็ต้องถอนทุนคืน สะสมกำไรเพื่อวิ่งเต้นไปลงโรงพักเกรดดียิ่งๆ ขึ้น ประมูลตำแหน่งกันยังกะประมูลรถยนต์ นายเวรผู้บัญชาการต้องทำกราฟ ทำตารางแจกแจงรายได้ รายจ่าย พร้อมราคาของแต่ละตำแหน่งไว้เสร็จสรรพ ส่งรายเดือนยังไม่พอ ตำรวจระดับนายร้อยขึ้นไปต้องชกป้องกันตำแหน่งทุก 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปีอีกด้วย ไฟต์ไหนชกพลาด เตรียมเก็บข้าวเก็บของไปอยู่ สภ.อ. หลังเขาได้

7. ที่อเมริกาเงินเดือนของตำรวจเมืองไหน ก็เอามาจากภาษีของประชาชนที่อยู่ในเมืองนั้นไปจ่าย ตำรวจจึงรู้สึกว่าจะต้องทำงานให้คุ้มค่าจ้าง ต้องรับผิดชอบต่อคนทั้งเมือง ประเทศที่ใช้เงินเดือนมาจากงบกลางอย่างบ้านเรา ความรู้สึกของผู้คนก็จะเฉยๆ ไม่มีส่วนร่วมในการควบคุมกิจการตำรวจ คุณเคยเห็นรถราชการเก่าๆจอดเฉยๆอยู่ตามโรงพักไหมครับ ไม่ยอมส่งคืนหลวงเพื่อแลกรถใหม่มาใช้...รถใหม่ไม่เอา...เรา (ระดับสารวัตรขึ้นไป) รักรถเก่าที่วิ่งไม่ได้...เพราะรถเก่าไม่ต้องใช้น้ำมัน ถ้ายังมีรถหลวงก็ยังต้องส่งน้ำมันมาให้ เราก็จะได้เอาไว้เติมรถส่วนตัวของเรา...

ตำรวจอเมริกาที่เขาได้รับการยอมรับจากประชาชนมากกว่าเราเนื่องจากการทุจริตแทบไม่มีเลยเพราะเขาเป็นตำรวจที่อยู่ประจำเมืองถ้าทำตัวไม่ดีมีสิทธิขึ้นบัญชีหนังหมาและคนที่จะพิพากษาตัวเขาก็คือประชาชน ยิ่งถ้าเมืองไหนเป็นเมืองเล็กๆจะเห็นหน้าเห็นตากันทุกวัน รับรองบ่อน ซ่อง ผิดกฏหมายไม่มีแน่ หากมีที่ไหนถึงวันประชุมประจำเดือนฝ่ายค้านก็จะนำเรื่องเข้าที่ประชุม นายกเทศมนตรีก็เกรงว่าเลือกตั้งครั้งหน้าตัวเองไม่ได้แน่ ก็ต้องเร่งมาที่ตำรวจ แล้วตำรวจจะอยู่นิ่งเฉยได้เหรอ ระบบแบบนี้ข้อดีประชาชนจะคอยเป็นหูเป็นตาคอยดูสิ่งที่ผิดปกติในเมืองแล้วจะแจ้งไปยังฝ่ายค้าน ถ้าบ้านเรามีแบบนี้รับรองสิ่งผิดกฏหมายหายไปเยอะและตำรวจที่จะไปรีดไถหรือเมาทั้งปีไม่มีแน่เพราะเขาคงไม่เอาไว้ให้เปลืองภาษีของเขาแน่นอน บางเมืองของอเมริกาเคยมีข่าวหมอผ่าตัดทำให้คนไข้ตาย พอเข้าที่ประชุมนายกเทศมนตรีก็จะตรวจสอบหมอหากผิดก็ต้องรับผิดไป จึงทำให้ทุกหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อท้องถิ่นต้องบริการประชาชนอย่างเต็มที่ หากข้าราชการดูแลประชาชนดี บ้านเมืองสงบ นักธุรกิจก็จะมาลงทุนเสียภาษีเข้าเมืองมาก ท้องถิ่นมีรายได้มากก็จะสามารถจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการมาก

credit = http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=111729
Read more ...

“วัชรพล” ยันคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ไม่กระทบตำแหน่งรอง ผบ.ตร.

10/10/56
โดยผู้จัดการ เมื่อ 10 ต.ค.2556

“วัชรพล” แถลงกรณีศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งตั้งเป็นรอง ผบ.ตร.ระบุตนเองเป็นผู้ได้รับผลกระทบ แต่ไม่กระเทือนยศและตำแหน่งปัจจุบัน เพราะผ่านการโปรดเกล้าฯ แล้ว ชี้ สตช.แค่เสนอ ก.ตร.แก้ไขคำสั่งแต่งตั้ง สลับตำแหน่งกับ “ชลอ”

วันนี้ (10 ต.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) 

แถลงข่าวภายหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 7 เม.ย. 2552 ซึ่งประกาศดังกล่าวแต่งตั้ง พล.ต.ท.วัชรพล (ยศในขณะนั้น) ขึ้นดำรงตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ซึ่ง 

พล.ต.อ.ชลอ ชูวงษ์ อดีตรอง ผบ.ตร.

ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ผบ.ตร.อาวุโสลำดับที่ 1 ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง หลังเห็นว่าการแต่งตั้งไม่เป็นธรรม มีการแต่งตั้งข้ามลำดับอาวุโส

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า การแต่งตั้งเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา ซึ่งอาจไม่ถูกใจทุกคน โดยเมื่อวันที่ 3 เม.ย.2552 มีตำแหน่ง รองผบ.ตร.และ ตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ10)เทียบเท่า รอง ผบ.ตร.ว่าง 2 ตำแหน่ง ขณะนั้น มี พล.ต.อ.ชลอ ซึ่งมีอาวุโส อันดับ 1 ได้รับการแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษา (สบ10) แต่ตนเอง ซึ่งมีอาวุโส อันดับ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นรอง ผบ.ตร.ทำให้ พล.ต.อ.ชลอ เห็นว่า การแต่งตั้งไม่ถูกต้อง จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และยื่นฟ้องศาลปกครองในที่สุด 

ศาลจึงมีคำสั่งดังกล่าว โดยอ้าง กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งฯ ที่การแต่งตั้งระดับผู้ช่วย ผบ.ตร.ขึ้นรองผบ.ตร.ต้องยึดตามลำดับอาวุโส

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวต่อไปว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องทำตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดยจะต้องเสนอ ก.ตร.แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2552 สลับตำแหน่งกับ พล.ต.อ.ชลอ โดยตนเอง ก็จะไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ10) แทน หากเป็นไปตามคำสั่งเดิม 

ต่อมา พล.ต.อ.ชลอ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรอง ผบ.ตร. ในวันที่ 1 ต.ค. 2553 

ฉะนั้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง แต่เมื่อนับอายุการรับราชการ ตนเองยังเป็นรอง ผบ.ตร.ที่มีอาวุโสสูงสุดในปัจจุบัน โดยไม่จำเป็นต้องถอดยศ เพราะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว หรือมีการลดตำแหน่งแต่อย่างใด และไม่คิดจะฟ้องร้องกลับ เพราะตัวเองไม่ใช่คู่กรณี แต่เป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบ
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม