ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนประกาศสำนักนายกฯ ตั้ง “พล.ต.ท.วัชรพล” ผช.ผบ.ตร. ขึ้น รอง ผบ.ตร. เมื่อปี 52 ข้ามอาวุโส “พล.ต.ท. ชลอ ชูวงษ์” ชี้เร่งรีบแต่งตั้งไม่เป็นกลางให้มีผลย้อนไป 3 เม.ย.52
เมื่อ 24 ส.ค.2553
นายวิริยะ ว่องวาณิช ตุลาการศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวน
มีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 7 เม.ย.52 ลำดับที่ 3 ที่แต่งตั้ง พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ให้ดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.52 เป็นต้นไป
โดยคดีนี้ พล.ต.อ.ชลอ ชูวงษ์ ผช.ผบ.ตร. ยื่นฟ้อง
-ผบ.ตร. สมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ,
-คณะกรรมการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งระดับ รองผบ.ตร. ,
-คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และ
-นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 – 4
โดยคดีนี้ พล.ต.อ.ชลอ ชูวงษ์ ผช.ผบ.ตร. ยื่นฟ้อง
-ผบ.ตร. สมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ,
-คณะกรรมการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งระดับ รองผบ.ตร. ,
-คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และ
-นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 – 4
กรณีร่วมกันกระทำการโดยมิชอบ โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 เสนอชื่อ พล.ต.ท.วัชรพล ผช.ผบ.ตร. ซึ่งมีอาวุโสลำดับที่ 2 ที่จะขึ้นรองผบ.ตร.และเสนอให้ผู้ฟ้องคดีกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นที่ปรึกษา สบ.10 ซึ่งมีศักดิ์และค่าตอบแทนเงินประจำตำแหน่งน้อยกว่า รอง ผบ.ตร.และตำแหน่งที่ปรึกษา สบ.10 กำหนดขึ้นมาเพื่อประสงค์จะฉ้อฉลในการแต่งตั้ง โดยไม่ได้มีปัญหาในเรื่องปริมาณงานตามหลักการบริหารงานบุคคลแต่อย่างใด โดยก.ตร.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้เคยเห็นชอบการแต่งตั้ง รอง ผบ.ตร.ที่มีอาวุโสน้อยกว่าผู้ฟ้องคดีขึ้นเป็นรอง ผบ.ตร. แล้ว 6 ราย
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บัญญัติขั้นตอนการแต่งตั้งตำรวจ โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ตรวจสอบคุณสมบัติและกระบวนการสรรหาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งการโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและ รอง ผบ.ตร. พ.ศ.2549
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บัญญัติขั้นตอนการแต่งตั้งตำรวจ โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ตรวจสอบคุณสมบัติและกระบวนการสรรหาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งการโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและ รอง ผบ.ตร. พ.ศ.2549
โดยคดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีความเร่งรีบและไม่เป็นอิสระอย่างชัดแจ้งคือ ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีบันทึกถึง คณะกรรมการคัดเลือกฯผู้ถูกฟ้องที่ 2 เพื่อให้ตรวจสอบคุณสมบัติและความเหมาะสมของข้าราชการเรียงลำดับ
1. พล.ต.อ. วิเชียร ซึ่งดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักงาน ตร. ให้เป็นที่ปรึกษา สบ 10ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ
2. พล.ต.ท. ชลอ ผู้ฟ้องคดี ผช.ผบ.ตร. ให้เป็นที่ปรึกษา สบ 10 ด้านป้องกันปราบปราม
3. พล.ต.ท.วัชรพล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้เป็นรอง ผบ.ตร.
โดยในวันเดียวกัน ผู้บังคับการกองกำลังพล ผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีข้อความเชิญคณะกรรมการคัดเลือกฯ ประชุมตรวจคุณสมบัติในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ขณะที่ ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีบันทึกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 แจ้งผลการพิจารณาว่าควรคัดเลือกข้าราชการตำรวจตามที่เสนอทุกราย
ดังนั้น การที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ประชุมเพื่อพิจารณาดังกล่าวโดยมี ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ร่วมพิจารณาด้วยเข้าลักษณะว่ามีสภาพร้ายแรง ซึ่งจะทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ และ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
การแจ้งกำหนดนัดประชุมเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อ้างว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนนั้นเห็นว่า ตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.ที่ว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง เหตุเพราะ พล.ต.อ.ปรุง บุญผดุง รอง ผบ.ตร.ไปเป็นหัวหน้านายตำรวจราชสำนักตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่ ผบ.ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ไม่ได้ดำเนินการคัดเลือกแต่งตั้งตำแหน่งดังกล่าวในทันที
ดังนั้นการคัดเลือก รองผบ.ตร.จึงไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน อีกทั้งมีเหตุน่าสงสัยว่าการเรียกประชุมในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ได้มีการประชุมจริงหรือไม่หรือเป็นการแจ้งเวียนส่งเรื่องเพื่อขอรับความเห็นจากคณะกรรมการคัดเลือกฯผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตาม ประกาศของก.ตร. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและประวัติรับราชการของ พล.ต.ท. ชลอ ผู้ฟ้องคดี กับ พล.ต.ท.วัชรพล ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น รอง ผบ.ตร. ยังเห็นว่ามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ในส่วนของผู้ฟ้องระบุว่ามีความรู้ความสามารถด้านการบริหารและป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเป็นอย่างดี ส่วน พล.ต.ท. วัชรพล ระบุว่า มีอาวุโสลำดับ 2 ในกลุ่ม ผช.ผบ.ตร. เคยเป็น ผบช.ปส. เป็นผู้มีความรอบรู้ประสบการณ์ด้านบริหาร อำนวยการของตำรวจเป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการเลือกปฎิบัติและความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลที่มีผลต่อการพิจารณาคัดเลือก สำหรับสิทธิประโยชน์และเงินค่าตอบแทนและเงินประจำตำแหน่งที่ปรึกษา สบ.10 กับ รอง ผบ.ตร. ก็พบว่าไม่เท่ากัน โดยตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.มีศักดิ์สูงกว่า ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงเดือนละ 21,000 บาท และเงินค่าตอบแทนอีกเดือนละ 21,000 บาท ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษา สบ 10 ได้รับเงินค่าประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะเดือนละ 15, 600 บาท และเงินค่าตอบแทนอีกเดือนละ 15,600 บาท
ขณะที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีมีอาวุโสลำดับที่ 1 และไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องมีความบกพร่องเรื่องประวัติรับราชการความประพฤติและผลปฏิบัติงาน โดยผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ก็ยอมรับถึงความรู้ความสามารถของผู้ฟ้องด้านบริหารและป้องกันปราบปรามแต่ผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ไม่ได้กระทำในสิ่งที่ควรทำ กลับแต่งตั้ง พล.ต.ท.วัชรพล ซึ่งมีอาวุโสลำดับที่ 2 เป็น รอง ผบ.ตร. ดังนั้นการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ดังนั้นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 7 เมษายน 2552 ที่แต่งตั้ง พล.ต.ท. วัชรพล เป็น รองผบ.ตร.จึงมิชอบด้วยเช่นกัน
ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกฯ เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่ามีการแต่งตั้ง ผช.ผบ.ตร. อาวุโสน้อยกว่าผู้ฟ้องคดีเป็นรอง ผบ.ตร.ข้ามวาระของ ผู้ฟ้องคดีไปแล้ว 6 ราย ประกอบด้วย
พล.ต.อ. วิโรจน์ พหลเวชช์ ,
พล.ต.อ. ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ,
พล.ต.อ. ปานศิริ ประภาวัติ ,
พล.ต.อ. จงรัก จุฑานนท์ ,
พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย และ
พล.ต.อ. วันชัย ศรีนวลนัด นั้น
ศาลเห็นว่า การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจทั้ง 6 ราย เกิดขึ้นในช่วงปี 2549 - 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลปกครองจะมีคำพิพากษา ซึ่งการแต่งตั้งเป็นไปตามสภาพข้อเท็จจริงที่ปรากฏในขณะนั้น แม้ว่าคำพิพากษาของศาลคดีนี้จะระบุให้มีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่ง ผช.ผบ.ตร.ต่อเนื่องตลอดมา แต่ไม่ได้มีผลในทางกฎหมายย้อนหลังที่จะมีผลกระทบต่อการแต่งตั้งตำแหน่งซึ่งได้ดำเนินการตามข้อเท็จจริงในขณะนั้นได้
พิพากษาให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 7 เมษายน 2552 ที่แต่งตั้ง พล.ต.ท. วัชรพล เป็น รองผบ.ตร. โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2552 เป็นต้นไป ส่วนคำข้ออื่นให้ยก
1. พล.ต.อ. วิเชียร ซึ่งดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักงาน ตร. ให้เป็นที่ปรึกษา สบ 10ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ
2. พล.ต.ท. ชลอ ผู้ฟ้องคดี ผช.ผบ.ตร. ให้เป็นที่ปรึกษา สบ 10 ด้านป้องกันปราบปราม
3. พล.ต.ท.วัชรพล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้เป็นรอง ผบ.ตร.
โดยในวันเดียวกัน ผู้บังคับการกองกำลังพล ผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีข้อความเชิญคณะกรรมการคัดเลือกฯ ประชุมตรวจคุณสมบัติในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ขณะที่ ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีบันทึกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 แจ้งผลการพิจารณาว่าควรคัดเลือกข้าราชการตำรวจตามที่เสนอทุกราย
ดังนั้น การที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ประชุมเพื่อพิจารณาดังกล่าวโดยมี ผบ.ตร. ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ร่วมพิจารณาด้วยเข้าลักษณะว่ามีสภาพร้ายแรง ซึ่งจะทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ และ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
การแจ้งกำหนดนัดประชุมเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อ้างว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนนั้นเห็นว่า ตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.ที่ว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง เหตุเพราะ พล.ต.อ.ปรุง บุญผดุง รอง ผบ.ตร.ไปเป็นหัวหน้านายตำรวจราชสำนักตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่ ผบ.ตร.ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ไม่ได้ดำเนินการคัดเลือกแต่งตั้งตำแหน่งดังกล่าวในทันที
ดังนั้นการคัดเลือก รองผบ.ตร.จึงไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน อีกทั้งมีเหตุน่าสงสัยว่าการเรียกประชุมในวันที่ 19 มีนาคม 2552 ได้มีการประชุมจริงหรือไม่หรือเป็นการแจ้งเวียนส่งเรื่องเพื่อขอรับความเห็นจากคณะกรรมการคัดเลือกฯผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตาม ประกาศของก.ตร. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและประวัติรับราชการของ พล.ต.ท. ชลอ ผู้ฟ้องคดี กับ พล.ต.ท.วัชรพล ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น รอง ผบ.ตร. ยังเห็นว่ามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ในส่วนของผู้ฟ้องระบุว่ามีความรู้ความสามารถด้านการบริหารและป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเป็นอย่างดี ส่วน พล.ต.ท. วัชรพล ระบุว่า มีอาวุโสลำดับ 2 ในกลุ่ม ผช.ผบ.ตร. เคยเป็น ผบช.ปส. เป็นผู้มีความรอบรู้ประสบการณ์ด้านบริหาร อำนวยการของตำรวจเป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการเลือกปฎิบัติและความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลที่มีผลต่อการพิจารณาคัดเลือก สำหรับสิทธิประโยชน์และเงินค่าตอบแทนและเงินประจำตำแหน่งที่ปรึกษา สบ.10 กับ รอง ผบ.ตร. ก็พบว่าไม่เท่ากัน โดยตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.มีศักดิ์สูงกว่า ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงเดือนละ 21,000 บาท และเงินค่าตอบแทนอีกเดือนละ 21,000 บาท ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษา สบ 10 ได้รับเงินค่าประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะเดือนละ 15, 600 บาท และเงินค่าตอบแทนอีกเดือนละ 15,600 บาท
ขณะที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีมีอาวุโสลำดับที่ 1 และไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องมีความบกพร่องเรื่องประวัติรับราชการความประพฤติและผลปฏิบัติงาน โดยผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ก็ยอมรับถึงความรู้ความสามารถของผู้ฟ้องด้านบริหารและป้องกันปราบปรามแต่ผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ไม่ได้กระทำในสิ่งที่ควรทำ กลับแต่งตั้ง พล.ต.ท.วัชรพล ซึ่งมีอาวุโสลำดับที่ 2 เป็น รอง ผบ.ตร. ดังนั้นการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ดังนั้นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 7 เมษายน 2552 ที่แต่งตั้ง พล.ต.ท. วัชรพล เป็น รองผบ.ตร.จึงมิชอบด้วยเช่นกัน
ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกฯ เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่ามีการแต่งตั้ง ผช.ผบ.ตร. อาวุโสน้อยกว่าผู้ฟ้องคดีเป็นรอง ผบ.ตร.ข้ามวาระของ ผู้ฟ้องคดีไปแล้ว 6 ราย ประกอบด้วย
พล.ต.อ. วิโรจน์ พหลเวชช์ ,
พล.ต.อ. ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ,
พล.ต.อ. ปานศิริ ประภาวัติ ,
พล.ต.อ. จงรัก จุฑานนท์ ,
พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย และ
พล.ต.อ. วันชัย ศรีนวลนัด นั้น
ศาลเห็นว่า การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจทั้ง 6 ราย เกิดขึ้นในช่วงปี 2549 - 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลปกครองจะมีคำพิพากษา ซึ่งการแต่งตั้งเป็นไปตามสภาพข้อเท็จจริงที่ปรากฏในขณะนั้น แม้ว่าคำพิพากษาของศาลคดีนี้จะระบุให้มีผลทางกฎหมายว่าผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่ง ผช.ผบ.ตร.ต่อเนื่องตลอดมา แต่ไม่ได้มีผลในทางกฎหมายย้อนหลังที่จะมีผลกระทบต่อการแต่งตั้งตำแหน่งซึ่งได้ดำเนินการตามข้อเท็จจริงในขณะนั้นได้
พิพากษาให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 7 เมษายน 2552 ที่แต่งตั้ง พล.ต.ท. วัชรพล เป็น รองผบ.ตร. โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2552 เป็นต้นไป ส่วนคำข้ออื่นให้ยก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น