2 เดือนเต็มบนเก้าอี้ “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ”ของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง เต็มไปด้วยเรื่องราวอื้อฉาว เท่าที่แยกแยะได้ มีอยู่ประมาณ 3-4 เรื่องที่ถือว่าน่าเป็นสิ่งที่ท่าน ผบ.ตร.หรือบุคคลใก้ลชิดควรหยุดฟังและเปิดใจกว้างตรองดูว่าสิ่งที่สังคมติติงท่านเกิดจากอคติหรือคู่ควรกับการรับฟัง
เรื่องแรกก็คือ “แนวคิด”กับ “คำพูด”...แนวคิดที่สุดกลายเป็นนโยบายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัตินั้น เหมือนกับท่าน ผบ.ตร.ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของตำรวจ (ไทย) เช่น การสนับสนุนสินบนปราบส่วยจราจร วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ตำรวจจราจรตามสถานีต่างๆไม่รีด ไม่ไถกันแล้วใช่ไหม ยอมปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนๆ สิ้นปีนี้อย่าลืมนำมาแถลงให้ประชาชนทราบด้วยจักเป็นพระคุณอย่างสูง แต่ที่มีโอกาสพูดคุยกับตำรวจจราจร เห็นเขาบอกว่าทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมแล้ว
“ขืนบ้าจี้ตามเจ้านาย ก็อดตายซิ”
อีกเรื่องที่พูดแล้วพูดอีก (เขียนแล้วเขียนอีก) ก็คือมาตรการป้องกัน และลงโทษผู้บังคับบัญชา หากมีตำรวจฆ่าตัวตาย
ดูเหมือนว่าท่าน ผบ.ตร. ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับแรก แสดงความห่วงใยในทันที ทั้งที่ยังไม่ได้นั่งเป็น ผบ.ตร. เรื่องความเป็นห่วง หรือช่วยแก้ปัญหาหนักอกของผู้ใต้บังคับบัญชานั้น เป็นเรื่องดี เพราะตำรวจมีเรื่องเครียดๆ ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ทั้งจากการทำงาน เจอนายดีก็ดีไปเจอนายขี้ปอด กับนายขี้โกง ถือว่าซวยกำลังสอง
นายขี้ปอด คือสั่งๆๆ แล้วก็แจว ไม่ต้องรับรู้ว่างานที่มอบหมายไปลูกน้องจะเจอปัญหาอะไรบ้าง ส่วนนายขี้โกง ประเภทนี้ต้องบีบให้ลูกน้องหารายได้เข้าพกเข้าห่อ นายระดับสูงกว่าโรงพัก เดี๋ยวมีบัตรการกุศล มวยบ้าง กอล์ฟบ้าง บ่อนไม่มี ซ่องประเจิดประเจ้อไม่ได้ หาให้ไม่ครบอาจโดนผู้กำกับฯ เขม่นย้ายหน้าที่บ้าง ไม่พิจารณาขั้นให้บ้าง เรื่องดราม่าแบบนี้ วงการตำรวจ (ไทย) ยังมีอยู่ และจะคงอยู่ตลอดไป
แต่นายที่ดีๆ ก็มี คือไม่ปอด ไม่โกง แต่มนุษย์ทุกคนล้วนมีสัญชาติญาณเอาตัวรอด บรรยากาศ “ตัวใครตัวมัน”แบบนี้ผลร้ายตกอยู่กับประชาชน 200 เปอร์เซ็นต์ เพราะตำรวจต่างสมัครใจเข้าเกียร์ว่างกันเป็นแถว จนกว่าจะผ่านพ้นการแต่งตั้งโยกย้ายระดับโรงพักเรียบร้อยนั่นแหละ ถึงจะเริ่มขยับ และไม่สามารถคาดเดาได้ว่า เป้าหมายที่ท่าน ผบ.ตร. ตั้งไว้คือ ให้ตำรวจเป็นที่รักของประชาชนโดยต่อไปนี้ จะไม่มีเรื่องเสียๆ หายๆกับตำรวจ ไม่มีส่วย โจรผู้ร้ายจะถูกปราบปรามอย่างเข้มแข็งเด็ดขาด
...เหล่านี้จะเป็นเพียง “มโน”ของท่าน หรือเป็นเรื่องจริง ก็ขอให้ประชาชนชาวไทยติดตามกันต่อไป
ขอเข้าเรื่อง “อย่าข่มขืนตำรวจให้ปฏิรูป” ตามที่ตั้งใจไว้ เพราะในห้วงรับตำแหน่ง ผบ.ตร. ของท่านสมยศ มีเรื่องหนักๆ ของตำรวจอยู่มากมาย แค่ยกตัวอย่าง “แนวคิด”กับ “คำพูด”ของท่านก็ว่าไปเกือบหมดตอนแล้ว... การเคลื่อนไหวของตำรวจ (ไทย) อีกหลายเรื่อง ไม่ว่าคดีเกาะเต่า ทำไมคนไทยจำนวนไม่น้อยไม่เชื่อว่า ตำรวจจับผู้ต้องหาตัวจริง.... กรณีป้ายโฆษณาจอแอลอีดี ที่อาศัยป้อมตำรวจ โรงพัก อาศัยน้ำ-ไฟหลวง ทำมาหากินกันอย่างโจ๋งครึ่ม ไม่อายผีสางเทวดา หรือ คดีอดีตเจ้าพ่อสอบสวนกลาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ กับพวกที่เข้าไปพัวพันกับส่วยมากมายหลายรูปแบบ ทั้งบ่อน และขบวนการน้ำมันเถื่อน
ท่าน ผบ.ตร. ขึงขังบอกว่า “ยุคผมใหญ่แค่ไหนก็จับ” แต่ตอนนี้มันแปร่งๆ เฉพาะ “ใบเสร็จ” ปึกใหญ่ ขนาดรวมเป็นเล่มควักมาโชว์นักข่าว วันนี้ทำท่าจะเหลือน้อยลงๆ ออกอาการไม่ “สุดซอย”สมราคาคุยเสียแล้ว อย่าไรก็ตาม ถ้าไม่อคติจนเกินไปท่าน ผบ.ตร. ควรได้แต้มบวก เพราะทุกยุคทุกสมัยไม่เคยมีใครขุดรากถอนโคนขบวนการโกงชาติกันขนาดนี้
จุดอ่อนที่สุดของตำรวจ (ไทย) จึงอยู่ที่การทุจริต-คอร์รัปชัน
แม้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะโดยใครก็ตาม ไม่อยากให้มีการลดทอนอำนาจของตำรวจ แต่คงยากที่จะปฏิเสธกระแสสังคมไปได้
ข้อเสนอปฏิรูปตำรวจ โดยมีที่น่าสนใจ คือ แนวทางของสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) เป็นอันดับแรก มีข้อเสนอ 10 แนวทาง คือ
เรื่องแรกก็คือ “แนวคิด”กับ “คำพูด”...แนวคิดที่สุดกลายเป็นนโยบายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัตินั้น เหมือนกับท่าน ผบ.ตร.ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของตำรวจ (ไทย) เช่น การสนับสนุนสินบนปราบส่วยจราจร วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ตำรวจจราจรตามสถานีต่างๆไม่รีด ไม่ไถกันแล้วใช่ไหม ยอมปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนๆ สิ้นปีนี้อย่าลืมนำมาแถลงให้ประชาชนทราบด้วยจักเป็นพระคุณอย่างสูง แต่ที่มีโอกาสพูดคุยกับตำรวจจราจร เห็นเขาบอกว่าทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมแล้ว
“ขืนบ้าจี้ตามเจ้านาย ก็อดตายซิ”
อีกเรื่องที่พูดแล้วพูดอีก (เขียนแล้วเขียนอีก) ก็คือมาตรการป้องกัน และลงโทษผู้บังคับบัญชา หากมีตำรวจฆ่าตัวตาย
ดูเหมือนว่าท่าน ผบ.ตร. ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับแรก แสดงความห่วงใยในทันที ทั้งที่ยังไม่ได้นั่งเป็น ผบ.ตร. เรื่องความเป็นห่วง หรือช่วยแก้ปัญหาหนักอกของผู้ใต้บังคับบัญชานั้น เป็นเรื่องดี เพราะตำรวจมีเรื่องเครียดๆ ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ทั้งจากการทำงาน เจอนายดีก็ดีไปเจอนายขี้ปอด กับนายขี้โกง ถือว่าซวยกำลังสอง
นายขี้ปอด คือสั่งๆๆ แล้วก็แจว ไม่ต้องรับรู้ว่างานที่มอบหมายไปลูกน้องจะเจอปัญหาอะไรบ้าง ส่วนนายขี้โกง ประเภทนี้ต้องบีบให้ลูกน้องหารายได้เข้าพกเข้าห่อ นายระดับสูงกว่าโรงพัก เดี๋ยวมีบัตรการกุศล มวยบ้าง กอล์ฟบ้าง บ่อนไม่มี ซ่องประเจิดประเจ้อไม่ได้ หาให้ไม่ครบอาจโดนผู้กำกับฯ เขม่นย้ายหน้าที่บ้าง ไม่พิจารณาขั้นให้บ้าง เรื่องดราม่าแบบนี้ วงการตำรวจ (ไทย) ยังมีอยู่ และจะคงอยู่ตลอดไป
แต่นายที่ดีๆ ก็มี คือไม่ปอด ไม่โกง แต่มนุษย์ทุกคนล้วนมีสัญชาติญาณเอาตัวรอด บรรยากาศ “ตัวใครตัวมัน”แบบนี้ผลร้ายตกอยู่กับประชาชน 200 เปอร์เซ็นต์ เพราะตำรวจต่างสมัครใจเข้าเกียร์ว่างกันเป็นแถว จนกว่าจะผ่านพ้นการแต่งตั้งโยกย้ายระดับโรงพักเรียบร้อยนั่นแหละ ถึงจะเริ่มขยับ และไม่สามารถคาดเดาได้ว่า เป้าหมายที่ท่าน ผบ.ตร. ตั้งไว้คือ ให้ตำรวจเป็นที่รักของประชาชนโดยต่อไปนี้ จะไม่มีเรื่องเสียๆ หายๆกับตำรวจ ไม่มีส่วย โจรผู้ร้ายจะถูกปราบปรามอย่างเข้มแข็งเด็ดขาด
...เหล่านี้จะเป็นเพียง “มโน”ของท่าน หรือเป็นเรื่องจริง ก็ขอให้ประชาชนชาวไทยติดตามกันต่อไป
ขอเข้าเรื่อง “อย่าข่มขืนตำรวจให้ปฏิรูป” ตามที่ตั้งใจไว้ เพราะในห้วงรับตำแหน่ง ผบ.ตร. ของท่านสมยศ มีเรื่องหนักๆ ของตำรวจอยู่มากมาย แค่ยกตัวอย่าง “แนวคิด”กับ “คำพูด”ของท่านก็ว่าไปเกือบหมดตอนแล้ว... การเคลื่อนไหวของตำรวจ (ไทย) อีกหลายเรื่อง ไม่ว่าคดีเกาะเต่า ทำไมคนไทยจำนวนไม่น้อยไม่เชื่อว่า ตำรวจจับผู้ต้องหาตัวจริง.... กรณีป้ายโฆษณาจอแอลอีดี ที่อาศัยป้อมตำรวจ โรงพัก อาศัยน้ำ-ไฟหลวง ทำมาหากินกันอย่างโจ๋งครึ่ม ไม่อายผีสางเทวดา หรือ คดีอดีตเจ้าพ่อสอบสวนกลาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ กับพวกที่เข้าไปพัวพันกับส่วยมากมายหลายรูปแบบ ทั้งบ่อน และขบวนการน้ำมันเถื่อน
ท่าน ผบ.ตร. ขึงขังบอกว่า “ยุคผมใหญ่แค่ไหนก็จับ” แต่ตอนนี้มันแปร่งๆ เฉพาะ “ใบเสร็จ” ปึกใหญ่ ขนาดรวมเป็นเล่มควักมาโชว์นักข่าว วันนี้ทำท่าจะเหลือน้อยลงๆ ออกอาการไม่ “สุดซอย”สมราคาคุยเสียแล้ว อย่าไรก็ตาม ถ้าไม่อคติจนเกินไปท่าน ผบ.ตร. ควรได้แต้มบวก เพราะทุกยุคทุกสมัยไม่เคยมีใครขุดรากถอนโคนขบวนการโกงชาติกันขนาดนี้
จุดอ่อนที่สุดของตำรวจ (ไทย) จึงอยู่ที่การทุจริต-คอร์รัปชัน
แม้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะโดยใครก็ตาม ไม่อยากให้มีการลดทอนอำนาจของตำรวจ แต่คงยากที่จะปฏิเสธกระแสสังคมไปได้
ข้อเสนอปฏิรูปตำรวจ โดยมีที่น่าสนใจ คือ แนวทางของสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) เป็นอันดับแรก มีข้อเสนอ 10 แนวทาง คือ
1. ลดและเลิกความเป็นกองทัพ หรือให้ตำรวจเป็นเหล่าทัพที่ 4 เพราะทำให้เกิดการรวมศูนย์การบังคับบัญชาจนภาระหน้าที่ถูกเบี่ยงเบน
2. ยกเลิกการผูกขาดรวมศูนย์ส่วนกลาง แยกกองบัญชาการตำรวจภูธรทั้ง 9 ภาค
3. ป้องกันการแทรกแซงจากการเมืองโดยยกเลิก ก.ต.ช. ที่มาจากฝ่ายการเมือง เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานตำรวจ
4.แยกงานสืบสวนออกจากงานสอบสวน
5.ยกเลิกในตำรวจในตำแหน่งที่มีหน่วยอื่นรีบผิดชอบอยู่แล้ว
6. ปรับปรุงการได้มาของตำรวจเช่นพัฒนากระบวนการสรรหา เน้นหลักสูตรสมัยใหม่ เพิ่มคุณวุฒินักเรียนพลตำรวจ
6. ปรับปรุงการได้มาของตำรวจเช่นพัฒนากระบวนการสรรหา เน้นหลักสูตรสมัยใหม่ เพิ่มคุณวุฒินักเรียนพลตำรวจ
7. จัดตั้งองค์กรและกลไกอิสระ ไม่ขึ้นกับสตช.
8. เพิ่มบทบาทและให้ความสำคัญกับการผลิตตำรวจชั้นประทวน
9. จัดรูปแบบทำงานในโรงพักเป็นแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ
10. เพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการฯ
อีกแนวทาง โดยนายวันชัย สอนศริ (สปช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม สรุปว่าให้ปรับโครงสร้าง สตช. และยกเลิกคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) แล้วตั้งเป็น “สภากิจการตำรวจแห่งชาติ”มีคณะทำงาน 1 ชุด ทำหน้าที่แทน สตช. และ ก.ตร.โดยกระจายอำนาจแบ่งเป็นตำรวจหลวง ตำรวจภูมิภาค และตำรวจท้องถิ่น โดยให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแต่งตั้ง-โยกย้ายตำรวจตามกฎหมายกำหนด รวมทั้งถ่ายโอนหน่วยงานตำรวจให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเช่น ตำรวจป่าไม้ ให้กรมป่าไม้ดูแลเป็นต้น
ทั้งข้อเสนอของ สปท. และ สปช. มีคำถามข้อเดียวคือ....ไม่ทราบว่าตำรวจไทยคิดกันอย่างไร เพราะหลายอย่างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งดำเนินการไปก่อนหน้านั้น “สวนทาง”กับข้อเสนอต่างๆ อย่างสิ้นเชิง เช่นโครงการตำรวจเกณฑ์ คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณไปเรียบร้อย โดยล็อตแรก 5,400 นาย ใช้งบ 513 ล้านบาท และมีข่าวค่อนข้างสับสนว่า จะต้องการมากถึง 20,000 นายหรือ 50,000 นาย ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณอย่างมากมายหลายพันล้านบาท ต่อปี
ไหนล่ะ ลด ละเลิก ความเป็นกองทัพที่ 4 ....โครงการตำรวจเกณฑ์ที่รัฐบาลเห็นดีเห็นงามด้วยนั้น บอกอะไรกับพวกท่านบ้าง
เอาแค่เรื่องเดียวทั้ง สปท. และสปช. ก่อนจะเสนออะไรหรือก่อน “ข่มขืนวัวให้กินหญ้า” โปรดมองความเป็นไปในโลกแห่งความจริงไว้ด้วย เห็นแก้กันมาทุกยุคไม่ให้นักการเมืองแทรกแซงตำรวจ ถามดังๆ ว่าตอนนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตกอยู่ในสภาพใด...ท่านรู้ไหม ตอนนี้ใครใหญ่ที่สุดในแวดวงสีกากี บอกให้ก็ได้ ไม่ใช่"สีกากี "อย่างแน่นอน-แทรกแซงหรือเปล่า
ปัญหาที่แท้จริงมันอยู่ที่ระบบ หรือบุคคล...แก้กันไป วนกันไปเวียนกันมา สุดท้ายประชาชนถูกยกมาอ้างทุกสถานการณ์ ไม่ว่าประชาธิปไตย หรือยุคทหารคืนความสุข...ถามตำรวจเขาสักคำ ถ้าเขาไม่เล่นด้วยทั้ง สปท. กับ สปช. จะมีน้ำยาไปทำอะไร (ตำรวจ)ได้
อีกแนวทาง โดยนายวันชัย สอนศริ (สปช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม สรุปว่าให้ปรับโครงสร้าง สตช. และยกเลิกคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) แล้วตั้งเป็น “สภากิจการตำรวจแห่งชาติ”มีคณะทำงาน 1 ชุด ทำหน้าที่แทน สตช. และ ก.ตร.โดยกระจายอำนาจแบ่งเป็นตำรวจหลวง ตำรวจภูมิภาค และตำรวจท้องถิ่น โดยให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแต่งตั้ง-โยกย้ายตำรวจตามกฎหมายกำหนด รวมทั้งถ่ายโอนหน่วยงานตำรวจให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเช่น ตำรวจป่าไม้ ให้กรมป่าไม้ดูแลเป็นต้น
ทั้งข้อเสนอของ สปท. และ สปช. มีคำถามข้อเดียวคือ....ไม่ทราบว่าตำรวจไทยคิดกันอย่างไร เพราะหลายอย่างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งดำเนินการไปก่อนหน้านั้น “สวนทาง”กับข้อเสนอต่างๆ อย่างสิ้นเชิง เช่นโครงการตำรวจเกณฑ์ คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณไปเรียบร้อย โดยล็อตแรก 5,400 นาย ใช้งบ 513 ล้านบาท และมีข่าวค่อนข้างสับสนว่า จะต้องการมากถึง 20,000 นายหรือ 50,000 นาย ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณอย่างมากมายหลายพันล้านบาท ต่อปี
ไหนล่ะ ลด ละเลิก ความเป็นกองทัพที่ 4 ....โครงการตำรวจเกณฑ์ที่รัฐบาลเห็นดีเห็นงามด้วยนั้น บอกอะไรกับพวกท่านบ้าง
เอาแค่เรื่องเดียวทั้ง สปท. และสปช. ก่อนจะเสนออะไรหรือก่อน “ข่มขืนวัวให้กินหญ้า” โปรดมองความเป็นไปในโลกแห่งความจริงไว้ด้วย เห็นแก้กันมาทุกยุคไม่ให้นักการเมืองแทรกแซงตำรวจ ถามดังๆ ว่าตอนนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตกอยู่ในสภาพใด...ท่านรู้ไหม ตอนนี้ใครใหญ่ที่สุดในแวดวงสีกากี บอกให้ก็ได้ ไม่ใช่"สีกากี "อย่างแน่นอน-แทรกแซงหรือเปล่า
ปัญหาที่แท้จริงมันอยู่ที่ระบบ หรือบุคคล...แก้กันไป วนกันไปเวียนกันมา สุดท้ายประชาชนถูกยกมาอ้างทุกสถานการณ์ ไม่ว่าประชาธิปไตย หรือยุคทหารคืนความสุข...ถามตำรวจเขาสักคำ ถ้าเขาไม่เล่นด้วยทั้ง สปท. กับ สปช. จะมีน้ำยาไปทำอะไร (ตำรวจ)ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น