ประชุม ก.ตร.ให้ความเห็นชอบโผ ตร.เดือด ผบ.ตร. หัก"เหลิม" ไม่เปลี่ยนตัว ผบก.ป., ปอศ.

26/12/54
โดยเดลินิวส์ เมื่อ 25 ธ.ค.2554

วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่ห้องประชุม 1 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) 

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. 

โดยมีวาระการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับผู้บังคับการ (ผบก.) ถึงระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) วาระประจำปี 2554 โดยมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) รองผบ.ตร.และก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวก่อนการประชุมว่า การประชุม ก.ตร.ครั้งนี้จะใช้หลักการพิจารณาตามความอาวุโส 33% และความเหมาะสม โดยการแต่งตั้งครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรก ที่มีการส่งรายชื่อให้ทาง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาก่อนวันประชุมจริง 3 วัน ซึ่งตนเห็นว่าดี เนื่องจากจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่รายชื่อที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ไม่ใช่ข้อยุติ ฉะนั้นผลชี้ขาดอยู่ที่การประชุมครั้งนี้ โดยหลายตำแหน่งยังสามารถปรับเปลี่ยนได้

เมื่อถามว่า มองว่าการแต่งตั้งครั้งนี้เป็นการโยกย้ายนายตำรวจจากขั้วอำนาจเก่าเข้ากรุ ประธานก.ตร. กล่าวว่า ประเด็นนี้ไม่เคยสนใจในรายละเอียด เพราะบุคคลใดมาเป็นตำแหน่งใด ก็สามารถปกครองได้ โดยตนไม่ได้มองว่าตำรวจบุคคลใดเป็นสายไหน ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าการแต่งตั้งครั้งนี้ ไม่มีการซื้อขายตำแหน่งอย่างเด็ดขาด แต่บางครั้งบุคคลที่เหมาะสมในสายตาของบอร์ดกลั่นกรองกับที่ประชุม ก.ตร.ใหญ่ และในสายตาของคนอื่น อาจมีความเห็นไม่ตรงกัน นอกจากนี้พรรคเพื่อไทย ไม่เคยคิดสร้างฐานเสียงจากตำรวจ

เมื่อถามถึงกรณีการแต่งตั้ง ผบช.ภ.1 เนื่องจากติดปัญหาการนับวันทวีคูณของ พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ โดยการแต่งตั้งของ พล.ต.ต.ศรีวราห์ ในครั้งนั้น ที่ไปช่วยราชการที่ภาคใต้ แต่มีการร้องเรียนเข้ามาว่า การช่วยราชการของ พล.ต.ต.ศรีวราห์ไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ขาดคุณสมบัติในการแต่งตั้ง ฉะนั้นจะมีการสอบเพิ่มอีก 2 – 3 ประเด็น คาดว่าจะเสร็จสิ้นในการประชุม ก.ตร.ครั้งหน้า โดยต่อจากนี้ถ้าบุคคลใดไปช่วยงานที่ภาคใต้แบบไม่ต่อเนื่อง จะมีการนับวันทวีคูณให้อีก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมก.ตร. ในช่วงแรกเป็นการถกเถียงกันหลายประเด็นโดย 

พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ 

ได้มีการพูดถึงการที่การเมืองเข้ามาล้วงลูกการแต่งตั้งซึ่งก็ได้มีการชี้แจงจนกระทั่งยุติประเด็นนี้ไป ทางก.ตร.ผู้ทรงก็ได้พูดถึงประเด็นเดิมที่บอกว่ารองผบ.ตร.ซึ่งเป็นบอร์ดกลั่นกรองไม่สามารถเข้าพิจารณาในก.ตร.ใหญ่ได้ จนมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางประมาณ 1ชม.ก่อนการประชุม แม้ว่าเรื่องนี้ทางกฤษฎีกาจะชี้มาแล้วว่าสามารถเข้าก.ตร.ได้ ทำให้นายวิษณุ เครืองาม ก.ตร.ผู้ทรงบอกให้ครั้งนี้ให้ผ่านไปก่อน จึงได้ยุติการอภิปรายและเริ่มการประชุมแต่งตั้ง

โดยเริ่มวาระแต่งตั้งเวลาประมาณ 16.30น. โดยหน่วยแรกที่พิจารณาคือ ตำแหน่งแพทย์เปิดใหม่ในรพ.ตำรวจ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการพิจารณาตำแหน่ง

พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. ไป บช.ศ. 

ซึ่งคณะกรรมการมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงคุณสมบัติ 

พล.ต.ต.ณัฐธร เพราะสุนทร ผบก.สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศ ว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือ ไอเลีย โยกข้ามหน่วยเป็นผบก.ตม.2 ( สุวรรณภูมิ ) 

พล.ต.ต.โชติกร ศรีมันตร ผบก.อก.บช.ศ. เป็นผบก.พฐก.

พล.ต.ต.พอพล สุขไพบูลย์ ผบก.กองวินัย เป็น ผบก.อก.บช.ศ. 

พล.ต.ต.มโนช ตัณตระเธียร ผบก.ตท. เป็นผบก.ไอเลีย 

 พ.ต.อ. มณฑลทัฬห์ บุนนาค ผกก.สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพ ขึ้นเป็นผบก.นรป . 

พล.ต.ต.ธนัท วงศ์สุวรรณ ผบก.วิทยาลัยการตำรวจ เป็นรองผบช.สยศ.ตร. 

พล.ต.ต.จีรเดช เกรียงศักดิ์พิขิต ผบก.ข่าวกรองยาเสพติด โยกเป็น ผบก. วิทยาลัยการตำรวจแทน
รายงานข่าวแจ้งว่าการแต่งตั้งครั้งนี้มีหลายตำแหน่งที่ต้องใช้การโหวต แต่รองผบ.ตร.ทุกคนเห็นด้วยตามบัญชีที่เสนอเข้าไป เช่นกรณีพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น.ที่ถูกโยกเป็นรองผบช.ศ. มีการถกเถียงและโหวตซึ่งปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ยึดตามบัญชีที่ผบ.ตร.เสนอไป

ต่อมา ผบ.ตร. ได้เสนอรายชื่อในกองบัญชาการที่เป็นหน่วยสนับสนุนการทำงานของหน่วยปฎิบัติ อาทิ สพฐ.ตร. สตม. สทส. สยศ. ฯลฯ โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชม. และพักรับประทานอาหาร 1 ชม. ก่อนเข้าประชุมอีกครั้งในเวลา 20. 30น. และเริ่มพิจารณา บช.ภ. 1 – บช.ภ. 9 โดย ผบช.แต่ละภาคต้องเข้าชี้แจงถึงเหตุผลการโยกย้ายหรือเลื่อนสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่ผบ.ตร.เสนอบัญชี แต่ ก็พบว่า มีนายตำรวจบางนายมีปัญหาถกเถียงกันในเรื่องความเหมาะสม จนที่ประชุมของผ่านรายชื่อนั้นไปก่อนและจะกลับมาพิจารณาต้อนท้ายของการประชุม

ทั้งนี้ รายชื่อที่ผ่านการพิจารณาแล้วอาทิ

 สตม. 

พล.ต.ต.วรเทพ เมธาวัธน์ รองผบช.สกบ. โยกเป็นรองผบช.สตม. 

พล.ต.ต.มนตรี โปตระนันทน์ ผบก.ตม. 4 เป็นรองผบช.สตม. 

 พล.ต.ต.วรินทร์ บุณยเกียรติ รองผบช.สยศ.รองผบช.สตม. 

พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี ผบก.ตม. 2 เป็น ผบก.สส.สตม. แทน

พล.ต.ต.มนู เมฆหมอก ผบช.สส.สตม. ที่ขึ้นเป็นรองผบช.สพฐ. เช่นเดียวกับ

พล.ต.ต.สัญชัย สุนทรบุระ ผบก.สท.ขึ้นเป็นรองผบช.สพฐ 

 พล.ต.ต.สมโภช โพธิ์ทอง ผบก.จตร เป็นผบก.ตม. 3 

พล.ต.ต.นุชิต ศรีสมพงษ์ ผบก.ประจำ สตม. เป็นผบก. ตม 4 

พ.ต.อ.อภิรัต นิยมการ รองผบก.ตม. 1 ขึ้นเป็นผบก.ตม. 5 แทน 

พล.ต.ต.ฐิติราช หนองหาญพิทักษ์ ที่ขึ้นเป็นรองผบช.ก. 

พล.ต.ต.สมโภชน์ โพธิ์ทอง ผบก.กต4 จตร.เป็นผบก.ตม.3 แทน

พล.ต.ต.รอย อิงคไพโรจน์ ผบก.กต.4 จตร .ที่ถูกโยกเป็นผบก.ประจำสตม. 

พ.ต.อ.กฤษดา สุรเชษฐพงศ์ รองผบก.ตม.3 ขึ้นเป็นผบก.ตม.1

บช.ปส. พล.ต.ต.ชาญเวช เสสะเวช รองผบช.ส. โยกเป็นรองผบช.ปส. 

พล.ต.ต.พุทธชาติ เอกฉันท์ ผบก.ปส. 4 ขึ้นเป็นรองผบช.ปส. 

 พล.ต.ต.อรรถชัย เกิดมงคล รองผบช.สยศ. ตร.เป็น รองผบช.ตชด.

บช.ส. 

 พล.ต.ต.พิทยา ศิริลักษณ์ เลขานุการตร. ขึ้นเป็น รองผบช.ส. 

 พล.ต.ต.ธงชัย โตงาม ผบก.ส. 2 โยกเป็นผบก.ส. 1 แทน

พล.ต.ต.ปิยะพล โมกขะวรรธนะ เด้งเป็นผบก.จตร. 

 พ.ต.อ.พิชิตชัย ศรียานนท์ รองผบก.ส. 3 ขึ้นเป็นผบก.ส. 3 

 พ.ต.อ.นพปฏล อินทอง รองผบก.ทพ. ขึ้นเป็นผบก.อก.ส.

บช.ภ. 1 

 พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รองผบช.ภ. 5 โยกเป็น รองผบช.ภ. 1 

 พล.ต.ต. ศุภกิจ ศรีจันทรนนท์ ผบก.ประจำ บช.ภ.6 ขึ้นเป็นรองผบช.ภ. 1 

 พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบก.น. 7 โยกเป็น ผบก.ศฝร.บช.ภ. 1 

พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รองผบก.ปส. 3 หรือ ชื่อเดิม พล.ต.ต. ฤทธิรงค์ เทพจันดาหรือ ฉายา โอ๋ สืบ6 เป็นผบก. จว.นนทบุรี 

พล.ต.ต.นิพนธ์ ภู่พันธ์ศรี ผบก.อก.บช.ภ. 1 เป็นผบก. จว.ราชบุรี 

พ.ต.อ.ภวัต พรหมะกฤติ รองผบก.จว.สมุทรปราการ ขึ้นเป็น ผบก.อก.ภ. 1 

พล.ต.ต.วัฒนา เขตร์สมุทร ผบก.จว.ปทุมธานี โยกเป็นผบก.จว.อ่างทอง 

พ.ต.อ.สมิทธิ มุกดาสนิท รองผบก.จว.สระบุรี ขึ้นเป็นผบก.ปทุมธานี 

 พล.ต.ต.ชลิต ปรีชาหาญ ผบก.กองอุทธรณ์ บช.ก.ตร. โยกมาเป็นผบก.จว.สระบุรี 

 พล.ต.ต.ชัชวาลย์ วชิรปาณีกูล ผบก.ศฝร.ภ. 5 เป็นผบก.ประจำภาค 1

บช.ภ. 2 .

พล.ต.ต. จำนง รัตนกุล ผบก. กองงบประมาณ สำนักงานงบประมาณและการเงิน เป็น ผบก.จว.ชลบุรี แทน 

พล.ต.ต.ธเนตร์ พิณเมืองงาม ที่โยกเป็น ผบก.จว.สระแก้ว

บช.ภ. 3 

พล.ต.ต.สุวรรณ เอกโพธิ์ ผบก.สส.บช.ภ. 5 โยกเป็น ผบก.ประจำ บช.ภ. 3 

พ.ต.อ.องอาจ ผิวเรืองนนท์ รองผบก.จว.มุกดาหาร นรต. 29 ขึ้นเป็น ผบก.จว.นครราชสีมา ที่เสียชีวิต 

พล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ ผบก.จตร. โยกเป็นผบก.จว.ชัยภูมิ 

 พ.ลต.ต. ชำนาญ เครือบัว ผบก.จตร.โยกเป็นผบก.นครพนม 

 พล.ต.ต.รัฐพงษ์ ยิ้มใหญ่ ผบก.สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพ บช.ศ. โยกเป็นผบก.จว.บุรีรัมย์ 

พล.ต.ต.สุรพล แก้วขาว ผบก.จว.อำนาจเจริญ โยกเป็นผบก.จว.อุบลราชธานี 

 พล.ต.ต.พงษ์วุฒิ พงษ์ศรี ผบก. ศฝร.บช.ภ. 3 โยกเป็นผบก.จว.ศรีสะเกษ ที่เกษียนณอายุราชการ

บช.ภ. 4 

พล.ต.ต.สุรพล พินิจชอบ รองผบช.สพฐ. โยกเป็นรองผบช. ภ. 4 

 พล.ต.ต.นิคม อินเฉิดฉาย ผบก.จว.ขอนแก่น โยกเป็น ผบก.สำนักการศึกษาและประกันคุณภาพ บช.ศ. ใน บช.ศ. 

 พล.ต.ต. บุญจันทร์ นวลสาย ผบก.จว.อุดรธานี โยกเป็น ผบก.กองอุทธรณ์ บช.ก.ตร. 

 พ.ต.อ.บุญลือ กองบางยาง รองผบก.จว.อุดรธานี ขึ้นเป็นผบก.จว.อุดรธานี 

พล.ต.ต.ขนิษฐศักดิ์ ธีรสวัส รองผบช.ภ.4 ไปเป็นรองผบช.ภ.9 

พ.ต.อ.ชูรัช ปานเหง้า รองผบก.จว.สกลนคร เป็นผบก.ประจำภาค 4 

พ.ต.อ.พลศักดิ์ บรรจงศิริ รองผบก.จว.มุกหาร เป็นผบก.จว.สกลนคร 

พ.ต.อ.ณรงค์วิทย์ พ่วงเพกา รองผบก.จว.สกลนครเป็นผบก.จว.ร้อยเอ็ด 

พล.ต.ต.สุรชัย ควรเดชะคุปต์ ผบก.ปปป.เป็นผบก.จว.มุกดาหาร
พล.ต.ต.ชัยทัต อินทรธนูจิต ผบก.จว.นราธิวาส เป็นผบก.จว.หนองบัวลำพู 

พล.ต.ต.สมยศ พรหมนิ่ม ผบก.จตร เป็นผบก.จว.หนองคาย 

พล.ต.ต.ฉลอง ภาคภิญโญ ผบก.จว.หนองคายไป เป็นผบก.จตร 

 พล.ต.ต.พนมพร อิทธิประเสริฐ ผบก.จว.นครพนม ไปเป็นผบก.อก.ภาค 4 

 พล.ต.ต.มณฑล มีอนันต์ ผบก.ประจำภาค 4 ไปเป็น ผบก.จว.บึงกาฬ 

 พล.ต.ต.ชัยทัต รุ่งแจ้ง ผบก.จว.บึงกาฬ เป็นผบก.จว.สุรินทร์

บช.ภ. 5 พล.ต.ต.ปชา รัตนพันธ์ ผบก. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน5 ขึ้นเป็นรองผบช.ภ. 5

พล.ต.ต.อรรถกิจ กรณ์ทอง ผบก.จว.ลำปาง มาเป็น ผบก.จว.ลำพูน 

 พ.ต.อ.พรชัย พักตร์ผ่องศรี รองผบก.จว.เชียงใหม่ ขึ้นเป็นผบก. จว.ลำปาง 

พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบก.น.2 เป็น ผบก.จว.พะเยา 

พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ โทปุญญานนท์ รองผบก.จว.พะเยาเป็น ผบก.จว.เชียงราย 

 พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.จว.เชียงราย เด้ง เป็นผบก.ประจำ บช.ภ. 5 

พ.ต.อ. นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต รองผบก.ป. เป็นผกก.สส.ภ. 5

บช.ภ.6 พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูตร ผบก.ส.3 เป็นผบก.จว.นครสวรรค์ โดยมี

พ.ต.อ.พิชิตชัย ศรียานนท์ รองผบก.ส.3 ขึ้นเป็นผบก.ส.3 แทน 

 พล.ต.ต.สมพล อัครเดโชชัย ผบก.อก.ภ.5 เป็นผบก.จว.ตาก

บช.ภ.7 พล.ต.ต.เรวัช กลิ่นเกสร รองผบช.ภ.7 เด็กสายประชาธิปัตย์ เป็น รองผบช.จตร. 

 พล.ต.ต.พูลรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบก.ปคบ. ขึ้นเป็น รองผบก.ภ.7 

 พล.ต.ต.พชรรัตน์ แสงไชย ผบก.จว.ราชบุรี มาเป็นผบก.จว.นครปฐม 

 พล.ต.ต.พศิน นกสกุล ผบก.จว.นครปฐม เป็นผบก.ประจำ ภ.7 

พ.ต.อ.สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น รองผบก.สปพ.ขึ้นเป็นผบก.สส.ภ.7 

 พล.ต.ต.ธยาฤทธิ์ เอกเผ่าพันธุ์ ผบก.จว.สมุทรสงคราม ไปเป็นผบก.จว.สมุทรสาคร 

พล.ต.ต.สมเกียรติ แสงสินศร ผบก.จว.สมทุรสาคร เป็นผบก.ศฝร.ภ.7

บช.ภ.8 พล.ต.ต.วิศณุ ม่วงแพรศรี รองผบช.9 เป็น รองผบช.ภ.8 

พล.ต.ต.เดชา บุตรน้ำเพชร รองผบช.ภ.8 นรต.35 สายประชาธิปัติ เป็นรองผบช.สยศ.

พล.ต.ต.เทศา ศิริวาโทร รองผบช.ภ.8 เป็น รองผบช.จตร. 

พล.ต.ต.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร ผบก.จว.สงขลา เป็น ผบก.จว.ระนอง 

 พล.ต.ต.วิทูร ธรรมรักษา ผบก.จว.ระนอง เป็น ผบก.จว.สุราษฎร์ธานี 

 พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ผบก.จว.สุราษฎร์ธานี เป็นผบก.จว.พังงา 

พล.ต.ต.ชลิต ถิ่นธานี ผบก.จว.พังงา เป็นผบก.ประจำ ภ.8 

พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ว ผบก.จว.สุรินทร์ เป็นผบก.จว.นครศรีธรรมราช 

 พล.ต.ต.กระจ่าง สุวรรณรัตน์ ผบก.จว.นครศรีธรรมราช เป็น ผบก.จว.ภูเก็ต 

 พล.ต.ต.วิทยเดช วรดิลก ผบก.จว.กระบี่ ถูกโยกเก็บกรุเป็นผบก.ประจำ สนง.ผบ.ตร. 

 พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.จว.ภูเก็ต เป็นผบก.ประจำ ตร.

บช.ภ.9 พล.ต.ต.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ รองผบช.ภ.4 เป็นรองผบช.ภ.9 

 พล.ต.ต.วีระศักดิ์ เพ็ชรคล้าย ผบก.จว.พัทลุง เป็น ผบก.ประจำภ.9 

พล.ต.ต.สมหมาย พุทธกูล เป็นผบก.จว.พัทลุง พล.ต.ต.สุวิทย์ เชิญศิริ ผบก.ประจำ ภ.8 เป็นผบก.จว.สงขลา
บช.ศชต. 

พล.ต.ต.ดำรงค์ วัฒโนดร ผบก.สส.ภ.9 เป็นผบก.สส.ศชต. 

พล.ต.ต.สันติ มะลิขาว ผบก.ศฝร.ศชต.เป็น รองผบช.ศชต 

พล.ต.ต.สฤษฎ์ชัย เอนกวียง รองผบช.สพฐ. เป็น รองผบช.ศชต. 

พล.ต.ต.โชติ ชวาลวิวัฒน์ ผบก.จว.ยะลา เป็นผบก.จว.นราธิวาส 

พล.ต.ต.พีระ บุญเลี้ยง รองผบก.จว.ยะลา เป็นผบก.จว.ยะลา

บช.น. 

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ พิสุทธิ์ศักดิ์ รอง ผบช.ก. นรต.32 ร่วมรุ่น ผบช.น. 

 พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ นรต.34 ผบก.สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน สำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.ตร. ) 

พล.ต.ต.นเรศ นันทโชติ นรต.37 รอง ผบช.ปส. อดีตนายวร พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ อดีต ผบ.ตร. 

พล.ต.ต.มานิตย์ วงศ์สมบูรณ์ ผบก.การสนับสนุนทางเทคโนโลยี สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.ตร.) อดีต ผบก.น. 1 นรต. 27 ซึ่งเคยถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดกรณีสลายการชุมนุมเสื้อเหลืองบริเวณเซ็นทรัลเวิล์ด พล.ต.ต.เมธี กุศลสร้าง ผบก.ภ.จว.อ่างทอง กลับถิ่นเก่า เป็น รอง ผบช.น

ส่วนผบก. ใน บช.น. มีการแต่งตั้ง 

พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รอง ผบก.น.4 ขึ้น ผบก.น.1 แทนพล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 ที่ขึ้นเป็นรองผบช.น. 

พล.ต.ต.สำเริง สุวรรณพงษ์ ผบก.ยุทธศาสตร์ บช.น.อดีต ผบก.น. 7 มีความใกล้ชิดกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร หรือ คุณหญิงอ้อ โยกมาเป็น ผบก.น.2 

พล.ต.ต.สุธีร์ เนรกัณฐี ผบก.น. 4 เป็น ผบก.น. 3 

พล.ต.ต. ชาญ วิมลศรี ผบก.สส.ศชต. นรต.34 แรงหนุนจากนายยุงยุทธ ติยะไพรัช โยกเป็น ผบก.น.4 

พล.ต.ต.กฤษฎิ์ เปียแก้ว ผบก.ศฝร.ภ.6 ลูกน้องเก่า  พล.ต.อ.ชลอ ชูวงษ์ อดีต รองผบ.ตร. เป็น ผบก.น.5

พ.ต.อ.วัลลภ ประทุมเมือง รอง ผบก.น.9 สายตรง ร.ต.อ.เฉลิม ขึ้น ผบก.น.6

พล.ต.ต.ขจรศักดิ์ ปานสาคร ผบก.อก.บช.ส. ลูกน้องเก่า พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต เป็น ผบก.น.7

พล.ต.ต.ประหยัชว์ บุญศรี ผบก.อก.ภ.7 นรต.35 ลูกน้อง พล.ต.อ.ภาณุพงษ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผบ.ตร. อดีตรองผบก.เชียงใหม่ เคยดูแลบ้านอดีตนายกทักษิณ เป็น ผบก.น.8

พ.ต.อ. รัชดากรณ์ ยิ่งยง รอง ผบก. กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (วจ.สยศ.) นรต. 32 รุ่นเดียวกับ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผบช.น. และยังสนิทกับลูกชายของนายเฉลิม อยู่บำรุง มาเป็น ผบก.น.9

พ.ต.อ.ชัยวัฒน์ ฉันทวรลักษณ์ รอง ผบก.น.6 นรต.38 ขึ้น ผบก.สปพ. 

พ.ต.อ.สมชาย มุสิกเจริญ รองผบก.น. 8 เป็น ผบก.อก.บช.น.
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบก.น. 6 นรต. 36 และชุดทำงานด้านสืบสวนของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีต ที่ปรึกษา สบ 10 ด้านสืบสวนสอบสวน เป็น ผบก.กองวิจัย หรือ วจ. 

 พล.ต.ต.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว รองผบช.น. เป็นรอง ผบช.ตรวจสอบภายใน หรือ สตส. 

 พล.ต.ต.สมชาย พัชรอินโต ผบก.น. 5 นรต. 36 เป็น ผบก.จตร. 

พล.ต.ต.เอื้อพงษ์ โกมารกุล ณ นคร รองผบช.น. นรต. 28 เพื่อน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีต. ผบ.ตร. และเคย รปภ. อดีตนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น รองผบช.จตร. 

พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.อก.บช.น. โยกเป็นผบก.กองสารนิเทศ หรือ สท. 

 พล.ต.ต.เฉลิมพันธุ์ อจลบุญ ผบก.น. 8 เป็น ผบก.ประจำ สนง.ผบ.ตร.

พล.ต.ต.อิทธิพล พิริยะภิญโญ รองผบช.น.นรต.รุ่น 36 เพื่อนร่วม พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบช.ภ. 9 เป็น รองผบช.สยศ.ตร.

พล.ต.ต. มณฑล เงินวัฒนะรองผบก.ตท. เป็นผบก.ตท. 

 พล.ต.ต.เทศา ศิริวาโท รองผบช.ภ8 เป็นรอง 

พล.ต.ต.ทวีชัย วิริยะโกศล รองผบช.ภ 6 เป็น รอง ผบช. ส่งกำลังบำรุง หรือ สกบ. 

พล.ต.ต.ปิยะพล โมกขะวรรธนะ ผบก.ส. 1 หน่วยข่าวที่สำคัญ เป็น ผบก.จตร. 

 พล.ต.ต. วิสนุ ปราสาททองโอสถ รองผบช.สตม. เป็นรองผบช.สกพ. 

พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข รองผบช. ภ. 5 เป็น รองผบช.ประจำ สนง.ผบ.ตร.เช่นเดียวกับ 

พล.ต.ต.วิทยเดช วรดิลก ผบก.จว.กระบี่ ถูกโยกเก็บกรุเป็นผบก.ประจำ สนง.ผบ.ตร. 

พล.ต.ต.ธนพล สนเทศ ผบก.สปพ. นรต. 33 อดีต นายตำรวจติดตามนายชวน หลีกภัย เป็นผบก.จตร. พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผบก.น.8 ขึ้นเป็น ผบก.เลขานุการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ ผบก.กองตรวจราชการ 3 หรือกต.3 ขึ้น รองผบช.จตร. พ.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง รองผบก.ทะเบียนพล หรือทพ. ขึ้นเป็น ผบก.กองแผนงานอาชญากรรม สยศ. ตร.พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.เชียงราย ถูกเด้งเป็นผบก.สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน พล.ต.ต.บุญจันทร์ นวลสาย ผบก.จว.อุดรธานีเป็น ผบก.ร้องทุกข์ บช.ก.ตร.

พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ รองผบช.ภ. 9 พล.ต.ต.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผบก.ตม. 5 พล.ต.ต.ณรงค์ ศิวาพาณิช รองผบช.ภ. 7 พล.ต.ต.สรรพวุฒิ พิพัฒน์พันธุ์ รองผบช.ประจำ สนง.ผบ.ตร. ทำหน้าที่ที่ปรึกษาวิเคราะห์งานบุคคล นรต. 31 รุ่นเดียวกับพล.ต.ท.พงพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก. พล.ต.ต.สุกิจ โคอินทรางกูร รองผบช.สกพ. เป็น รองผบช.ก. ขณะที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบช.ก. ซึ่งมีปัญหากรณีร้องเรียนเรื่องสิทธิ์ทวีคูณ จนทำให้ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผบช.ภ. 1 ยังคงอยู่ที่เดิม
พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ ผบก.รน. เป็น ผบก.ปคม. พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล ผบก.ประจำ บช.ก. เป็น ผบก.ปอท. พ.ต.อ..บุญสืบ ไพรเถื่อน รองผบก.ปอศ. ขึ้นเป็นผบก.รน. พ.ต.อ.นรศักดิ์ เหมนิธิ รองผบก.ป. เป็น ผบก.ปทส. พ.ต.อ.ธนังค์ บุรานนท์ รองผบก.อก.บช.ก. นรต. 35 คนสนิท พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผบ.ตร. เป็นผบก.รฟ. ขณะที่ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป และ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ. ยังอยู่ที่เดิม

ต่อมาเวลา ประมาณ 00.30น. วันที่ 26 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อมีการพิจารณาตำแหน่งในบช.ก. พบว่า พล.ต.ท.พงพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.ได้เดินจากห้องประชุม ก.ตร. เข้าห้องประชุมเล็ก โดยมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เข้าไปสมทบ คาดว่าจะมีการหารือกันในตำแหน่งผบก.ป. ซึ่งมีรายงานข่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม ต้องการให้พล.ต.ต.ประยนต์ ลาเสือ ผบก.สส.บช.ภ. 3 มานั่งเก้าอี้นี้แทน ทั้งนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เข้าห้องประชุมเพียง 10 นาทีเท่านั้นก่อนจะเดินลงไปยังสำนักงาน และคณะกรรมการแต่ละคนทยอยออกมาพักผ่อนอิริยาบถ ก่อนจะเข้าประชุมอีกครั้งและเสร็จสิ้นการแต่งตั้งตำแหน่ง บช.ก. ในเวลา 01.30 น.

จนกระทั่งเวลา 04.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมแต่งตั้งตำรวจระดับรองผบช.-ผบก. ประจำปี 2554 ได้เสร็จสิ้นลงในเวลา 04.00น. หลังจากเริ่มประชุมเวลา 13.30น. ซึ่งนับว่าเป็นการประชุมที่ยาวนานที่สุดเท่าที่มีการแต่งตั้งมา อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งในบช.ก. เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 01.30น. โดยคณะกรรมการบางคนเห็นว่าควรมีการปรับเปลี่ยน ตำแหน่ง ผบก.ป. และ ผบก.ปอศ. จนต้องให้พล.ต.ท.พงพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก. เข้าชี้แจงเหตุผลที่ไม่มีการปรับเปลี่ยน จนต้องออกจากห้องประชุมเพื่อพิจารณารายชื่อก่อนเสนอเข้าที่ประชุมอีกครั้ง ขณะที่พล.ต.ท.พงพัฒน์ได้เข้าชี้แจงถึงเหตุผลการแต่งตั้ง และไม่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งผบก.ป. ก่อนจะเดินทางกลับ โดยระบุว่าให้ที่ประชุมเป็นผู้พิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้นำรายชื่อตำรวจที่มีการปรับเปลี่ยนเข้าเสนอที่ประชุมอีกครั้ง แต่ร.ต.อ.เฉลิม ยังคงสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่มีการเปลี่ยนตัว พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. และ และ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ.

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนเสร็จสิ้นการประชุมประมาณ 30 นาที ได้มีการถกเถียงถึงการเปลี่ยนตำแหน่งผบก.ป. และผบก.ปอศ. อย่างดุเดือดโดย ร.ต.อ.เฉลิมได้พยายามเสนอในที่ประชุมด้วยน้ำเสียงที่ดุดันว่า "ผม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะประธานก.ตร. ขอเสนอให้

พล.ต.ต.ประยนต์ ลาเสือ ผบก.สส.บช.ภ. 3 เป็น ผบก.ป.

และ มีการปรับเปลี่ยนผู้มาดำรงตำแหน่ง

พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ ผบก.ปอศ. 

โดยให้ ผบ.ตร. เสนอบัญชีรายชื่อมายังที่ประชุม ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ย้ำคำพูดเดิมถึง 2 ครั้ง พร้อมทุบโต๊ะหลายครั้งด้วยอาการเกรี้ยวกราด

จากนั้นได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ขณะที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ยังยึดตามบัญชีเดิม คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2 ตำแหน่งดังกล่าว จากนั้นไม่นานได้มีการยุติการประชุม ร.ต.อ.เฉลิมออกจากห้องประชุมด้วยสีหน้าเคร่งเครียด และกล่าวว่า การประชุมยุติแล้ว ไม่ต้องประชุมต่อ แต่ไม่ให้สัมภาษณ์ ให้ไปถามผบ.ตร. และคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม ออกจากห้องประชุมไปแล้ว ก.ตร. ในตำแหน่งและก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ บางส่วน ยังคงพูดคุยกันอยู่ในห้องประชุมอีกประมาณ 10 นาที ก่อนจะรีบแยกย้ายกันเดินทางกลับอย่างรวดเร็วโดยคณะกรรมการแต่ละท่านยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนผบก.ป.และบก.ปอศ. แต่อย่างใด

พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ กล่าวว่า การแต่งตั้งครั้งนี้เสร็จเรียบร้อย เมื่อถามว่า มีการเปลี่ยนแปลงจากบัญชีที่เสนอไปหรือไม่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ กล่าวว่า มีการเปลี่ยนหลายตำแหน่งเหมือนกัน
ด้านพล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร. กล่าวว่า วันนี้มีการแต่งตั้งโยกย้ายจำนวน 235 ตำแหน่ง แบ่งเป็น รองผบช. หมุนเวียน 32 ตำแหน่ง ผบก. เลื่อนขึ้นเป็นรองผบช. 31 ตำแหน่ง ผบก.หมุนเวียน 107 ตำแหน่ง และ รองผบก.ขึ้นเป็นผบก. 63 ตำแหน่งและตำแหน่งเปิดใหม่ รพ.ตำรวจอีก 2 ตำแหน่ง ซึ่งผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งทั้งหมดจะไปรักษาราชการแทนทันทีคือวันที่ 27 ธ.ค. และตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นไปตามบัญชีที่ ผบ.ตร.เสนอไป

พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า การประชุมก.ตร.วันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การแสดงความคิดเห็น การโต้เถียงกันในที่ประชุมเป็นเรื่องปกติ ตามระบอบประชาธิปไตย ส่วนตำแหน่งผบก.ป. ไม่มีปัญหา แต่ที่ถกเถียงกันนานเพราะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งมาก หากตำแหน่งใดมีปัญหาก็ใช้วิธีการโหวต และก.ตร.ทุกท่านทำการบ้านมาดี มีข้อมูลของผู้ได้รับการแต่งตั้ง บางคนให้ข้อมูล ประวัติผู้ได้รับการแต่งตั้งเร็วกว่าข้อมูลจากสำนักงานกำลังพลเสียอีก.

ไม่มีความคิดเห็น:

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม