พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน
ผู้บังคับการ กองวินัย
ข้าราชการตำรวจกลุ่มงานนิติกรด้านเสริมสร้างและพัฒนาวินัย กองวินัย
ตามที่กองวินัยได้มีการตอบปัญหาเรื่องวินัยให้แก่ข้าราชตำรวจและบุคคลทั่วไป อย่างต่อเนื่อง นั้น มีผู้เข้ามาสอบถามปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งเรื่องเกี่ยวกับวินัยของข้าราชการตำรวจ เรื่องการดำเนินการทางวินัยและเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับวินัยแต่ กองวินัย ก็สามารถตอบและชี้แนะแนวทางให้ได้ ซึ่งปัญหาที่ข้าราชการตำรวจถามก็รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับล้มละลายในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกฟ้องล้มละลาย ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย เรื่องนี้มีข้าราชการตำรวจหลายนายที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเท่าที่ควร ในเบื้องต้นจึงขอให้ทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการที่จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย กล่าวคือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม.91 มีหลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลายโดยเจ้าหนี้ธรรมดามี 3 ประการคือ
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
ตาม ม.9 พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ของการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ธรรมดา กล่าวคือเป็นเจ้าหนี้สามัญไม่มีประกัน ส่วนเจ้าหนี้มีประกันกล่าวคือเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งในทาง จำนำ จำนองหรือสิทธิยึดหน่วง ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ตาม ม.102 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย
ต่อมา เมื่อข้าราชการตำรวจถูกฟ้องคดีล้มละลาย สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบคือ
การรายงานตนต้องหาคดีล้มละลาย ตาม ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี เล่ม 1 ตอน 1 ประเภทบุคคล บทที่ 133 โดยการรายงานตนต้องหาคดี ดังกล่าวจะต้องรายงานภายในกำหนด 3 วันนับแต่ได้รับหมายจากศาลล้มละลาย
กระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลพิจารณาได้ความจริงตาม ม.9 หรือ ม.10 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามม. 144 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และหากต่อมากระบวนการพิจารณาของศาลล้มละลายได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ข้าราชการตำรวจผู้เป็นลูกหนี้ เป็นบุคคลล้มละลายตาม ม.615 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดใน กฎ ก.ตร. ตาม ม.100 (3)6 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่ง กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ(ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2549 ข้อ 4 (1)7 กล่าวคือเป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย ดังนั้น ผู้มีอำนาจตาม ม. 72 จึงสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
กรณีที่มีคำพิพากษาของศาลล้มละลายให้ผู้นั้นเป็นบุคคลล้มละลาย แล้วต่อมามีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย ตามม. 24 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2548 ให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งไปยังศาลฎีกา ไม่ว่าจะเป็นคดีล้มละลายธรรมดาหรือในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ก็ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาเช่นกัน ซึ่งกรณีเช่นนี้หากมีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง ย่อมถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นยังไม่ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามม. ตาม ม.100 (3) พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547 ข้อ 4 (1) จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสั่งให้ออกจากราชการ ดังกล่าว
Read more ...
ผู้บังคับการ กองวินัย
ข้าราชการตำรวจกลุ่มงานนิติกรด้านเสริมสร้างและพัฒนาวินัย กองวินัย
ตามที่กองวินัยได้มีการตอบปัญหาเรื่องวินัยให้แก่ข้าราชตำรวจและบุคคลทั่วไป อย่างต่อเนื่อง นั้น มีผู้เข้ามาสอบถามปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งเรื่องเกี่ยวกับวินัยของข้าราชการตำรวจ เรื่องการดำเนินการทางวินัยและเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับวินัยแต่ กองวินัย ก็สามารถตอบและชี้แนะแนวทางให้ได้ ซึ่งปัญหาที่ข้าราชการตำรวจถามก็รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับล้มละลายในกรณีที่ข้าราชการตำรวจถูกฟ้องล้มละลาย ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย เรื่องนี้มีข้าราชการตำรวจหลายนายที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเท่าที่ควร ในเบื้องต้นจึงขอให้ทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการที่จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย กล่าวคือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม.91 มีหลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลายโดยเจ้าหนี้ธรรมดามี 3 ประการคือ
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
ตาม ม.9 พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ของการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ธรรมดา กล่าวคือเป็นเจ้าหนี้สามัญไม่มีประกัน ส่วนเจ้าหนี้มีประกันกล่าวคือเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งในทาง จำนำ จำนองหรือสิทธิยึดหน่วง ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ตาม ม.102 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย
ต่อมา เมื่อข้าราชการตำรวจถูกฟ้องคดีล้มละลาย สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบคือ
การรายงานตนต้องหาคดีล้มละลาย ตาม ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี เล่ม 1 ตอน 1 ประเภทบุคคล บทที่ 133 โดยการรายงานตนต้องหาคดี ดังกล่าวจะต้องรายงานภายในกำหนด 3 วันนับแต่ได้รับหมายจากศาลล้มละลาย
กระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น เมื่อศาลพิจารณาได้ความจริงตาม ม.9 หรือ ม.10 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามม. 144 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และหากต่อมากระบวนการพิจารณาของศาลล้มละลายได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ข้าราชการตำรวจผู้เป็นลูกหนี้ เป็นบุคคลล้มละลายตาม ม.615 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดใน กฎ ก.ตร. ตาม ม.100 (3)6 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่ง กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ(ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2549 ข้อ 4 (1)7 กล่าวคือเป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย ดังนั้น ผู้มีอำนาจตาม ม. 72 จึงสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
กรณีที่มีคำพิพากษาของศาลล้มละลายให้ผู้นั้นเป็นบุคคลล้มละลาย แล้วต่อมามีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย ตามม. 24 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2548 ให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งไปยังศาลฎีกา ไม่ว่าจะเป็นคดีล้มละลายธรรมดาหรือในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ก็ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาเช่นกัน ซึ่งกรณีเช่นนี้หากมีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง ย่อมถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นยังไม่ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามม. ตาม ม.100 (3) พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547 ข้อ 4 (1) จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสั่งให้ออกจากราชการ ดังกล่าว